หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อมูลท่องเที่ยวและวัฒนธรรม

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในตำบลศิลาเพชร
อำเภอปัว  จังหวัดน่าน

น้ำตกศิลาเพชร 
เป็นน้ำตกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  เกิดขึ้นในลำน้ำย่างซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของตำบลซึ่งรวมกันเป็นล้ำน้ำผ่านโขดหิน  เป็นน้ำตกลดหลั่นเป็นชั้น ๆ สวยงาม ในช่วงวันหยุดเทศกาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสงกรานต์จักมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนวนมากบริเวณที่ตั้ง บ้านป่าตองดอนทรายทอง  หมู่  8 ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว  จังหวัดน่าน มีระยะทางห่างจากอำเภอปัว ประมาณ  11  กิโลเมตร





น้ำตกวังต้นตอง
จากอาณาบริเวณโดยรอบน้ำตกอุดมไปด้วยต้นกล้วย  จึงเป็นที่มาของชื่อวังต้นตอง  เป็นน้ำตกที่เกิดในป่า อยู่บ้านดอนแก้ว ม.4 ตำบลศิลาเพชร ทางเข้าจะมีได้ 2 ทาง มีระยะทางห่างจากอำเภอปัว ประมาณ 15 ก.ม


   
วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นในตำบลศิลาเพชร
ตามตำนานประวัติของตำบลศิลาเพชรตอนหนึ่งได้กล่าวว่า
เจ้าเก้าเกื่อน  ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลาน ได้ปกครองเมืองล่างสืบแทน ในสมัยนั้นพญางำเมือง   เจ้าเมืองพะเยา ได้ยกทัพมาตีเมืองวรนคร    เจ้าเก้าเกื่อนได้ช่วยพ่อคือพ่อขุนฟองปราบข้าศึกจนพ่ายแพ้ไป    เจ้าเก้าเกื่อนปกครองเมืองล่างอยู่นั้น ท่านได้พาราษฎรสร้างเจดีย์ขึ้นที่ม่อนพักหรือม่อนป่าสัก (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านดอนมูล) และได้จัดทำสนามไว้สำหรับชุมชนช้างม้าที่เป็นพาหนะออกทำศึกในที่ดอนแห่งหนึ่ง  (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านดอนไชย)
            ต่อมาเจ้าเก้าเกื่อนท่านได้นำต้นโพธิ์มาจากสุโขทัย       มาปลูกไว้ใกล้กับบ้านบ่อตองทางทิศตะวันตก พร้อมทั้งสร้างเจดีย์องค์เล็กๆ  องค์       ใกล้กับต้นโพธิ์ นำเอาเพชรนิลจินดาแก้วแหวนเงินทองของมีค่าต่างๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ ปัจจุบันไม่ปรากฎให้เห็นเจดีย์      เนื่องจากต้นโพธิ์โตขึ้นครอบเจดีย์องค์เล็กจมหายลงไปในดินนานนับหลายร้อยปีแล้ว  คงเหลือแต่ต้นโพธิ์ใหญ่ที่สุดในตำบลศิลาเพชร
                ต้นมหาโพธิ์ต้นนี้นับว่าเป็นสัญลักษณ์      เป็นหลักเมืองและเป็นที่สักการะบูชาของชาวเมืองล่างและชาวศิลาเพชรปัจจุบันตลอดมา เมื่อถึงปีใหม่เมืองหรือ   วันที่ 16 เมษายน   (วันปากปี) ของทุกปี       จะมีประชาชนจากหมู่บ้านต่างๆ      ในตำบลศิลาเพชรมาชุมนุมกันเพื่อสักการะบูชา    ทำบุญ   ตักบาตร ฟังเทศน์ นำไม้มาค้ำต้นโพธิ์   สรงน้ำพระพุทธรูป  พระสงฆ์   สรงน้ำต้นโพธิ์   ปล่อยนก ปล่อยปลา  ซึ่งปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปี
            จึงสรุปได้ว่าประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญอันได้แก่
1.ประเพณีค้ำโพธิ์
2.ประเพณีบวงสรวงเจ้าหลวงภูคา
3.ประเพณีรดน้ำผาควาย
4. ประเพณีสรงน้ำพระเพชร
5.ประเพณีสรงน้ำพระธาตุนาคำ
   ภาพกิจกรรมงานประเพณีค้ำโพธิ์
  

              ในวันที่ 16 เมษายนของทุกปี ประชาชน ผู้นำชุมชน จะนำไม้ค้ำสลีมาค้ำต้นโพธิ์โดยความเชื่อว่าจะทำให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยค้ำชูช่วยเหลือ  สถานที่คือบริเวณลานโพธิ์ บ้านป่าตองพัฒนา ม.9

ภาพกิจกรรมบวงสรวงเจ้าหลวงภูคา






ตำบลศิลาเพชรเป็นตำบลที่มีประวัติเล่าขานยาวนาน นอกจากประเพณีท้องถิ่นงานประเพณีค้ำโพธิ์ งานรดน้ำผาควาย  ยังมีกิจกรรมอีกกิจกรรมหนึ่งที่มักจะทำประจำทุกๆ ปี ในเดือนพฤษภาคม คือการบวงสรวงเจ้าหลวงภูคา  เครื่องบวงสรวงประกอบไปด้วย ข้าวหนม ข้าวต้ม ดอกไม้ขาว หมากบุหรี่ เมี่ยงกล้วย  อ้อย ดอกไม้ ธูปเทียน หัวหมู  หางหมู แข้งหมู (ข้อมูลจากพ่อถี จีใจ ปราชญ์ท้องถิ่น) และมีข้าวจ้ำเพื่อทำพิธี ข้าวจ้ำในการบวงสรวง คือพ่อหนานพลอย และพ่อถี บ้านป่าตองหมู่ 8 ซึ่งในวันทำพิธี ผู้นำชุมชน หน่วยงานราชการจะมาร่วมกิจกรรม และจะมีการฟ้อนดาบของบ้านหมู่ 8
                ความเชื่อชาวตำบลศิลาเพชร ที่ว่าการบวงสรวงเจ้าหลวงภูคาจะทำให้ครอบครัว ชุมชน
อยู่ร่มเย็นเป็นสุข เป็นการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง
ภาพกิจกรรมรดน้ำผาควาย

      

              ในวันที่  16 เมษายน ของทุก ๆ ปีชาวตำบลศิลาเพชรจะร่วมกันทำบุญ ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระเพชร บริเวณลานโพธิ์  บ้านป่าตองพัฒนา หมู่ 9  และชาวบ้านจะมีการนำไม้มาค้ำโพธิ์ไว้เป็นประจำทุกปี ช่วงตอนบ่ายจะมีประเพณีรดน้ำผาควาย  โดยจะมีการทำพิธีบนโขดหินบริเวณน้ำตกซึ่งกิจกรรมดังกล่าวผู้น้ำชุมชนประชาชนจะร่วมกิจกรรม ตำบลศิลาเพชร จะมีประเพณีกิจกรรมมากมายซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่น รดน้ำผาควาย เป็นกิจกรรมประเพณีท้องถิ่น ที่มีความเชื่อว่า การบูชารดน้ำผาควายจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มีน้ำใช้ตลอดปี ผาควาย เป็นก้อนหินที่อยู่กลางลำน้ำตกศิลาเพชร ทุก ๆ ปี ผู้แก่ในชุมชน จะทำพิธีและมีขนมที่พ่อค้า แม่ค้าได้ร่วมทำบุญ

ภาพกิจกรรมสรงน้ำพระธาตุนาคำ
                              


ภาพกิจกรรมสรงน้ำพระเพชร
                พระเพชรถือเป็นของคู่บ้านคู่เมืองตำบลศิลาเพชรเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญในทุก ๆ ปีชาวตำบลศิลาเพชรจะสรงน้ำพระเพชร หรือที่เรียกว่าสะหละสะหลุง






 โบราณวัตถุ
                รูปพระเพชร


                  พระเพชร คือพระพุทธรูปทองสำริดสมัยเชียงแสนรุ่นแรก พุทธศักราช  ๑๔๐๐ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัยฝ่าพระบาทหยายมีลายกระจักรท้ง ๒ ข้าง สังฆาฎิสั้น รอบฐานมีรูกลม ยอดพระเมาลีหายพระนะลาฎ(หน้าผาก)เป็นแผลมีแผ่นโลหะเงินปิดไว้ค้นพบที่วัดมณี(ตำบลศิลาเพชร) สร้างโดยพวกลั๊ว ขอม เมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๐


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น