หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบลศิลาเพชร
               สภาพทั่วไป
1.ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับ กศน.ตำบลศิลาเพชร
                1.1 ที่ตั้ง
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร ตั้งอยู่ เลขที่ 123  หมู่ บ้านป่าตองพัฒนา  ตำบลศิลาเพชร  อำเภอปัว   จังหวัดน่าน ระยะทางห่างจาก

ที่ว่าการอำเภอปัว 11 กิโลเมตร

รูปแผนที่แสดงอาณาเขตติดต่อระหว่างตำบลศิลาเพชรและตำบลอื่น  ในพื้นที่อำเภอปัว  จังหวัดน่าน

 ประวัติความเป็นมาของตำบลศิลาเพชร
(เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย อ.สวัสดิ์  ธรรมสละ  ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลศิลาเพชร)
                   ตำบลศิลาเพชรเดิมชื่อเมืองล่าง    ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อปี    พ.. 1820      พญาภูคาพร้อมด้วยภรรยาคือนางจำปาหรือนางแก้วฟ้าและราษฎรประมาณ  220  คน  ได้เดินทางมาจากเมือง เงินยาง   มาพักอยู่ที่บริเวณบ้านเฮี้ย  (.ศิลาแลง) จากนั้นได้ออกสำรวจหาพื้นที่สำหรับตั้งเมือง    ก็ได้มาพบเมืองล่างซึ่งเป็นเมืองร้าง    มีเพียงหมู่บ้านเล็กๆ  อยู่หมู่บ้านหนึ่งชื่อว่าบ้านกำปุง    หรือ บ่อตอง (ปัจจุบันคือบ้านป่าตองราษฎรเป็นชาวลั๊วะและเขมร  มีวัดร้างอยู่วัดหนึ่งชื่อวัดมณีอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านกำปุง   พญาภูคาเห็นว่าบริเวณที่ได้สำรวจนี้เหมาะสมที่จะตั้งเมือง  จึงได้พาราษฎรอพยพจากบ้านเฮี้ยมาสร้างบ้านเรือนอยู่ติดกับบ้านกำปุงทางทิศเหนือและเนื่องจากพญาภูคาเป็นผู้มีความเมตตาโอบอ้อมอารี  ราษฎรจึงได้ยกย่องขึ้นเป็นเจ้าเมืองล่าง   เมื่อเดือน  เหนือ   ขึ้น  ค่ำ  พ.. 1840  นับว่าท่านได้เป็นต้นกำเนิดของ ราชวงค์ภูคา” 
                   เมื่อชาวเชียงแสนเชียงรายได้ทราบข่าวว่าพญาภูคาได้ปกครองเมืองล่าง   ก็พากันอพยพถิ่นฐานมาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมากตลอดจนชาวไทยลื้อสิบสองปันนาก็ได้อพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นอีก พญาภูคาท่านจึงให้พวกที่อพยพมาใหม่นี้ไปแผ้วถางป่าทางทิศตะวันออกของบ้านกำปุงเป็นที่ตั้งบ้านเรือน     แล้วท่านได้แต่งตั้งให้นายซ้ายขึ้นเป็นหัวหน้าบ้าน     (ปัจจุบันเรียกว่าบ้านนาทรายอยู่ในเขตบ้านป่าตอง) จากนั้นท่านก็ได้นำราษฎรสร้างเหมืองฝาย    นาน้ำย่างและนาทุ่งแหนขึ้น         ให้ราษฎรบุกเบิกแผ้วถางป่าทางทิศตะวันตก บ้านกำปุง เป็นท้องนา  (ปัจจุบันเรียกว่านามุขขุดสระใหญ่อีก สระกลางทุ่งนามุขเพื่อเลี้ยงปลา     เมื่อถึงฤดูจับปลาจะประกาศให้หมู่บ้านใกล้เคียงมาช่วยกันจับปลาเมื่อใครจับได้ก็ให้นำมารวมกันเมื่อได้ปลาเป็นที่พอใจแล้วก็ให้หัวหน้าบ้านทุกหมู่บ้านมาช่วยกันแบ่งปลาตามสัดส่วนของราษฎรแต่ละหมู่บ้านไปกินเป็นที่พอใจของราษฎรมาก (ปัจจุบันสระนี้ได้ตื้นเขินกลายเป็นท้องนาไปหมดแล้ว)
                   พญาภูคามีบุตรกับนางจำปา   คน   คนพี่ชื่อ   ขุนนุ่น  คนน้องชื่อ  ขุนฟอง  เมื่อขุนนุ่นอายุได้ประมาณ 18  ปี  พญาภูคาจึงให้ขุนนุ่นพาราษฎรจำนวนหนึ่งไปหาที่ตั้งเมืองใหม่  ขุนนุ่นจึงไปหาพญาเถรแตงที่ดอยติ้ว  ดอยวาว  (เขตติดต่อ อ.ท่าวังผา จ.น่าน กับ อ.เชียงคำ จ.พะเยา ปัจจุบัน)     พญาเถรแตงจึงได้พาขุนนุ่นข้ามแม่น้ำโขงไปทางฝั่งตะวันออกไปสร้างเมืองเวียงจันทร์และปกครองอยู่ที่นั่น   ส่วนขุนฟองผู้น้องให้ไปสร้างเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า   วรนคร”    อยู่ทางทิศเหนือของเมืองล่าง    (ปัจจุบันคือตำบลวรนคร)    ขุนฟองท่านมีบุตร คนชื่อ    เจ้าเก้าเกื่อน   พญาภูคาปกครองเมืองล่างได้  40  ปี   ก็ถึงอนิจกรรมเมื่อ พ.. 1890
                   เจ้าเก้าเกื่อน  ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลาน ได้ปกครองเมืองล่างสืบแทน ในสมัยนั้นพญางำเมือง   เจ้าเมืองพะเยา ได้ยกทัพมาตีเมืองวรนคร    เจ้าเก้าเกื่อนได้ช่วยพ่อคือพ่อขุนฟองปราบข้าศึกจนพ่ายแพ้ไป    เจ้าเก้าเกื่อนปกครองเมืองล่างอยู่นั้น ท่านได้พาราษฎรสร้างเจดีย์ขึ้นที่ม่อนพักหรือม่อนป่าสัก (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านดอนมูล) และได้จัดทำสนามไว้สำหรับชุมชนช้างม้าที่เป็นพาหนะออกทำศึกในที่ดอนแห่งหนึ่ง  (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านดอนไชย)
               ต่อมาเจ้าเก้าเกื่อนท่านได้นำต้นโพธิ์มาจากสุโขทัย   มาปลูกไว้ใกล้กับบ้านบ่อตองทางทิศตะวันตก พร้อมทั้งสร้างเจดีย์องค์เล็กๆ  องค์       ใกล้กับต้นโพธิ์ นำเอาเพชรนิลจินดาแก้วแหวนเงินทองของมีค่าต่างๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ ปัจจุบันไม่ปรากฎให้เห็นเจดีย์      เนื่องจากต้นโพธิ์โตขึ้นครอบเจดีย์องค์เล็กจมหายลงไปในดินนานนับหลายร้อยปีแล้ว  คงเหลือแต่ต้นโพธิ์ใหญ่ที่สุดในตำบลศิลาเพชร
                     ต้นมหาโพธิ์ต้นนี้นับว่าเป็นสัญลักษณ์      เป็นหลักเมืองและเป็นที่สักการะบูชาของชาวเมืองล่างและชาวศิลาเพชรปัจจุบันตลอดมา เมื่อถึงปีใหม่เมืองหรือ   วันที่ 16 เมษายน   (วันปากปี) ของทุกปี       จะมีประชาชนจากหมู่บ้านต่างๆ      ในตำบลศิลาเพชรมาชุมนุมกันเพื่อสักการะบูชา    ทำบุญ   ตักบาตร ฟังเทศน์ นำไม้มาค้ำต้นโพธิ์   สรงน้ำพระพุทธรูป  พระสงฆ์   สรงน้ำต้นโพธิ์   ปล่อยนก ปล่อยปลา  ซึ่งปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปี
เจ้าเก้าเกื่อนปกครองเมืองล่างได้ 41 ปี ก็ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.. 1921   ต่อจากนั้นเมืองล่างจึงไปขึ้นกับเมืองวรนครอยู่ในความปกครองของเจ้าพญาผานอง  ซึ่งเป็นราชวงค์ภูคาด้วยกัน   เจ้าพญาผานองได้เปลี่ยนชื่อเมืองล่าง เป็น เมืองย่าง โดยเรียกตามลำน้ำย่างที่ไหลผ่านแล้วท่านได้แต่งตั้งเจ้าผาฮ่องขึ้นปกครองเมืองย่าง ซึ่งปกครองเมืองย่างได้ไม่นานก็ถึงแก่กรรม
             ต่อมาพญากานเมือง เจ้าเมืองวรนครองค์ที่ แห่งราชวงค์ภูคา ได้ย้ายเมืองวรนครไปตั้งที่เมืองภูเพียงแช่แห้ง เมื่อ พ.. 1902 (เป็นต้นกำเนินของเมืองน่าน)    ราษฎรเมืองย่างบางส่วนได้อพยพตามพญากานเมืองไปอยู่ที่ภูเพียง
แช่แห้งด้วย เมืองย่างจึงอยู่ในความปกครองของเจ้าเมืองน่าน
                   อาจกล่าวได้ว่าเมืองน่านมีต้นกำเนิดที่ เมืองย่างหรือตำบลศิลาเพชร   เพราะราชวงค์พญาภูคาก่อตั้งขึ้นที่นี่แล้วไปขึ้นกับเมืองวรนครต่อมาได้ย้ายเมืองวรนครไปตั้งที่เมืองภูเพียงแช่แห้งเรียกว่า  เมืองน่าน ซึ่งต่อมาเกิดแห้งแล้ง เจ้าเมืองจึงย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านห้วยไคร้ ปัจจุบันคือบริเวณสี่แยกสะพานน้ำเข้ม   ตั้งแต่วัดพญาภูขึ้นไปวัดหัวเวียงใต้     ปัจจุบันเกือบจะไม่มีร่องรอยสัญลักษณ์อะไรไว้ให้เห็นแล้ว       คงเหลือแต่สะพานกรุงศรีและร่องน้ำอีกเล็กน้อย   ทางทิศตะวันออกของวัดพญาภู  ลำห้วยไคร้ได้ถูกดินถมสร้างตึกรามบ้านช่องไปหมดแล้ว
                   เมืองย่างเมื่ออยู่ในความปกครองของเจ้าเมืองน่าน      ซึ่งเมื่อถึงสมัยเจ้าเมืองน่านชื่อ     เจ้าฟ้าอัตถาวรปัญโญ  พ.. 2147  ท่านได้แต่งตั้ง   นายคำ  ขึ้นปกครองเมืองย่าง สมัยนั้นข้าศึกพม่าได้มากวาดต้อนผู้คนในเมืองย่างและเมืองอวน นำไปผูกมัดไว้ที่ห้วยแห่งหนึ่ง   จากนั้นก็นำไปรวมกันที่ห้วยอีกแห่งหนึ่ง     (ภาษาท้องถิ่นเรียกว่าขนไปต้อ)      ปัจจุบันห้วย  แห่งนี้   เรียกว่า   ห้วยมัด  ห้วยต้อ  อยู่ในเขตตำบลอวน  ข้าศึกพม่าได้ทำลายวัดวาอารามบ้านเรือนราษฎรเสียหายมาก
   ต่อมาเจ้าอุ่นเมือง ขึ้นปกครองเมืองน่าน พ.. 2168   ได้แต่งตั้งให้พญาแก้วขึ้นปกครองเมืองย่าง   พม่านำข้าศึกมาตีเมืองน่านอีก  เจ้าอุ่นเมืองกับพญาแก้ว จึงได้พากันหนีพม่าไปอยู่เมืองลานช้าง
               ปี พ.. 2246 พระเมืองราชา  เจ้าเมืองน่าน   ถูกพม่ามารบกวนอีก     เจ้าเมืองเล็นซึ่งปกครองเมืองเล็นอยู่ทางทิศเหนือของเมืองน่านก็ถูกพม่ามารบกวน   จึงได้พากันหนีจากเมืองเล็นมาอยู่เมืองย่างและได้ปกครองเมืองย่าง     ท่านผู้นี้ได้พาราษฎรสร้างฝายน้ำปัว     สร้างอารามสงฆ์  และ  จัดตั้งหมู่บ้านขึ้น   ชื่อบ้านหัวทุ่ง (บ้านนาคำปัจจุบัน) เมื่อเจ้าเมืองเล็นถึงแก่กรรม เจ้าเมืองน่านจึงได้แต่งตั้งนายปั๋น ขึ้นปกครองเมืองย่างชื่อว่า   แสนปั๋น   ท่านผู้นี้ได้ให้ราษฎรสร้างเหมือง ฝาย  นาเหล่าม่อนเปรต (ม่อนเผด) สร้างพระธาตุจอมพริก ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านเสี้ยว   ตำบลยม   อำเภอท่าวังผา
              ปี พ..2345      เมืองย่างเกิดน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่  (น้ำนองหลวง ) พัดพาบ้านเรือนราษฎรพังเสียหายจำนวนมาก เมื่อแสนปั๋นถึงแก่กรรม เจ้าเมืองน่านชื่อ เจ้าอนันตอัตถาวรปัญโญ       ได้มาตรวจสภาพพื้นที่เมืองย่าง    เห็นว่ามีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ดี มีพื้นที่ราบกว้างขวางจึงให้ราษฎรที่อพยพมาจาก  เมืองยาง    เชียงแสน  เชียงราย  มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองย่างนี้ แล้วแต่งตั้งให้ แสนจิณปกครองเมืองย่าง
               ปี พ..2426   เจ้าสุริยะพงษ์ผริตเดช เจ้าเมืองน่าน ได้แต่งตั้งให้นายเทพ   ขึ้นปกครองเมืองย่างชื่อพญาเทพมงคล    ท่านได้พาราษฎรซ่อมแซมวัดวาอารามสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหายให้คืนสภาพเดิมและได้สร้างวิหารวัดป่าตองหลังเก่า พญาเทพมงคลปกครองเมืองย่างได้  10  ปีก็ถึงแก่กรรม
               ต่อมาเจ้าเมืองน่านก็ได้แต่งตั้ง   นายเทพอีกคนหนึ่งมาปกครองเมืองย่างชื่อว่า   พญาเทพพาวัง  ท่านผู้นี้ปกครองเมืองย่างได้ 10 ปี  ก็ลาออก
               ปี พ..2446   เจ้าเมืองน่านได้แต่งตั้ง  นายเมืองแก้ว  ฑีฆาวงค์ ขึ้นปกครองเมืองย่าง ชื่อว่าพญาเพชร เมืองมูล    ท่านได้ช่วยราชการปราบเงี้ยวที่บ้านบ่อเกลือจนสำเร็จ ท่านผู้นี้ได้เปลี่ยนชื่อเมืองย่าง  เป็นตำบลศิลาเพชรตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้     ท่านปกครองตำบลศิลาเพชรอยู่  7 ปี    จึงลาออก เมื่อ พ..2453
              นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาทางบ้านเมือง ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ ผู้ปกครองตำบลจะต้องมาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรในท้องถิ่นเป็นผู้เลือกขึ้นมา    ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจเข้ามาเป็นผู้ปกครองตำบล เรียกว่า   กำนันอยู่ในตำแหน่งได้จนเกษียณอายุ นอกจากตายและลาออก
รายชื่อกำนันตำบลศิลาเพชร
                   1.นายอนันตราชอักษร พ..2453 - 2471 ท่านผู้นี้ได้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นเป็นโรงแรก คือโรงเรียนประชาบาลบ้านป่าตอง (..ชุมชนศิลาเพชร ปัจจุบัน) ท่านปกครองตำบลได้ 18 ปี ก็ถึงแก่กรรม
2.นายศรี แก้วหลวง พ.. 2471 - 2480  ดำรงตำแหน่ง  ปี   แล้วลาออก
     3.นายเขียว  มิสละ  พ.. 2480 - 2485   ดำรงตำแหน่ง 5   ปี  แล้วลาออก
                    ในปี พ.. 2486 ทางการได้มีประกาศยุบเลิกตำบลศิลาเพชร ให้ไปขึ้นการปกครองของตำบลยม อำเภอปัว ในขณะนั้น ซึ่งมี นายอิทธิ  อิ่นอ้าย เป็นกำนันให้ตำบลศิลาเพชรเป็นตำบลยม 2 จนถึงปี พ.. 2490  จึงมีประกาศจากทางราชการให้กลับมาเป็นตำบลศิลาเพชรอีก รวมเวลาที่ยกเลิกจากการเป็นตำบลศิลาเพชร  ปี
รายชื่อกำนันตำบลศิลาเพชรหลังจากที่ได้มีการประกาศให้กลับมาเป็นตำบลศิลาเพชร
        1.นายลัย          นาคอ้าย               .. 2490 - 2512              ดำรงตำแหน่ง  22  ปี  แล้วลาออก
         2.นายบุญเลย   พลเล็ก                  .. 2512 - 2522              ดำรงตำแหน่ง  10  ปี  แล้วลาออก
         3.นายเมืองดี    จันต๊ะเทพ            .. 2522 - 2532              ดำรงตำแหน่ง  10  ปี  แล้วเกษียณอายุ
         4.นายเกษม      นาคอ้าย               .. 2532 - 2535              ดำรงตำแหน่ง   3   ปี  แล้วลาออก
         5.นายเสริม       กองกุณะ            .. 2535 - 2539              ดำรงตำแหน่ง   4   ปี  แล้วลาออก
   6.นายหน่อ        ชาวยอง             .. 2539 - ปัจจุบัน
นับตั้งแต่ปี พ.. 2535 เป็นต้นมาทางการได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่มาจากการเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี  มีการบริหาร
งานส่วนท้องถิ่นในรูปแบบของสภาตำบล    สภาตำบลศิลาเพชรได้รับการยกฐานะ ขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร เมื่อ  23 กุมภาพันธ์  2540   มีจำนวนหมู่บ้านในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด   9   หมู่บ้าน     ได้แก่
                   หมู่ที่  บ้านนาคำ
                   หมู่ที่  บ้านทุ่งศรีบุญยืน            
                   หมู่ที่  บ้านป่าตอง
                   หมู่ที่  บ้านดอนแก้ว
                   หมู่ที่  บ้านดอนมูล  (เมื่อ  เมษายน  2545  ได้มีคำสั่งกระทรวงมหาดไทยแยกหมู่บ้านเป็น หมู่บ้าน)
                   หมู่ที่  บ้านดอนไชย
                   หมู่ที่  บ้านทุ่งรัตนา
                   หมู่ที่  บ้านดอนทรายทอง
                   หมู่ที่  บ้านป่าตองพัฒนา
                   หมู่ที่  10  บ้านดอนสุขสันต์   (แยกจากบ้านดอนมูล  หมู่  5)
ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชรครั้งแรกเมื่อวันที่   11  พฤษภาคม  2540  มีจำนวนสมาชิกโดยการเลือกตั้ง 18  คน  และสมาชิกโดยตำแหน่ง   9   คน     ผู้ดำรงตำแหน่งประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลคนแรกคือ  นายจำเนียร   ธนะตา  สมาชิกโดยตำแหน่ง(แพทย์ประจำตำบล)   บ้านดอนมูล หมู่ที่  ส่วนผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารคนแรกคือ นายหน่อ   ชาวยอง    กำนันตำบลศิลาเพชร ผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโดยตำแหน่งของบ้านดอนแก้ว  หมู่ที่  และต่อมาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ครั้งที่  เมื่อวันที่  23   มิถุนายน   2544

   รายชื่อประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร

1.นายหน่อ          ชาวยอง                ดำรงตำแหน่งตั้งแต่   มิถุนายน  2540   ถึง  มีนาคม  2542
2.นายสมบูรณ์      เสมอใจ               ดำรงตำแหน่งตั้งแต่   มีนาคม  2542  ถึง  10  พฤษภาคม  2544
3.นายอุดม           พรมปา                  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่  กรกฎาคม  2544 ถึง  22 มิถุนายน  2548  (ได้เปลี่ยนตำแหน่งจากประธานกรรมการบริหารเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  (ฉบับที่  4)  .. 2546  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  18  มิถุนายน  2546  เป็นต้นมา)ในการเลือกตั้งสมัยที่ วันที  31  กรกฎาคม  2548 เป็นการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจากประชาชนโดยตรงเป็นครั้งแรก  ซึ่งนายอุดม  พรมปา  ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง
1.2 เนื้อที่
                                92  ตารางกิโลเมตร  หรือ ประมาณ  57,500  ไร่
1.3 ภูมิประเทศ

อาณาเขตติดต่อ

                                ทิศเหนือ                            ติดต่อกับ               ตำบลศิลาแลง
ทิศใต้                 ติดต่อกับ               ตำบลอวน
ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ               ตำบลบ่อเกลือ
ทิศตะวันตก        ติดต่อกับ              ตำบลยม

                                สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขา  มีดอยภูคาอยู่ทางทิศตะวันออกของตำบลมีพื้นที่ราบอยู่ทางทิศตะวันตก  มีแม่น้ำย่างไหลผ่านดอยภูคาจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือป่าไม้ และมีแหล่งท่องเที่ยวคือน้ำตกศิลาเพชรและน้ำตกวังต้นตอง               
1.4 จำนวนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน
                 หมู่ 1      บ้านนาคำ              
หมู่ 2     บ้านทุ่งศรีบุญยืน                                               
หมู่ 3      บ้านป่าตอง                                                          
หมู่ 4      บ้านดอนแก้ว       
หมู่ 5      บ้านดอนมูล                                         
หมู่ 6      บ้านดอนไชย
หมู่ 7      บ้านทุ่งรัตนา        
หมู่ 8      บ้านป่าตองดอนทรายทอง
หมู่ 9      บ้านป่าตองพัฒนา                                              
หมู่ 10           บ้านดอนสุขสันต์
1.5 ท้องถิ่นอื่นในตำบล
                - จำนวนเทศบาล                                 -              แห่ง
                - จำนวนสุขาภิบาล                             -              แห่ง
                ประชากรทั้งสิ้น  4,706  คน ,แยกเป็นชาย  2,359  คน ,หญิง  2,347  คน  (ข้อมูล ณ เดือน พฤษภาคม  2551)
                มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 51 คน / ตารางกิโลเมตร  
. สภาพทางเศรษฐกิจ
2.1 อาชีพได้แก่
                ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม   การปศุสัตว์และบางส่วนมีอาชีพหัตถกรรมเป็นอาชีพเสริม  ประชากรประกอบอาชีพ ต่างๆ   เช่น
-                   ทำไร่ ทำนา ทำสวน
-                   ค้าขาย,รับจ้าง

ข้อมูลพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกรในตำบลศิลาเพชร
หมู่ที่

  ชื่อหมู่บ้าน

 

ครัวเรือนทั้งหมด
ครัวเรือนเกษตรกร
พื้นที่ทำการเกษตร
แหล่งน้ำสำคัญเพื่อการเกษตร
นา
ไร่
สวนผลไม้
1
นาคำ
214
168
351
110
55
ห้วยบั่ว,ห้วยลึก
2
ทุ่งศรีบุญยืน
80
73
193
55
40
ห้วยบั่ว,ห้วยลึก,ลำน้ำย่าง
3
ป่าตอง
100
72
213
-
17
ลำน้ำย่าง,ห้วยบง
4
ดอนแก้ว
114
102
292
70
20
ลำน้ำย่าง,ห้วยไร่,ห้วยต้นตอง
5
ดอนมูล
112
94
445
260
60
ลำน้ำย่าง,ห้วยไฮ
6
ดอนไชย
132
113
252
285
70
-
7
ทุ่งรัตนา
61
54
178
15
10
-
8
ป่าตองดอนทรายทอง
148
126
215
10
5
ห้วยบง,ลำน้ำย่าง
9
ป่าตองพัฒนา
129
109
252
-
10
ลำน้ำย่าง
10
ดอนสุขสันต์
185
169
289
25
16
ลำน้ำย่าง
รวม
-
1,275
1,080
2,680
830
303
-

2.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
-                   ธนาคาร                                                                         -              แห่ง
-                   โรงแรม                                                                         1              แห่ง
-                   ปั๊มน้ำมันและก๊าซ                                                       1              แห่ง
-                   โรงงานอุตสาหกรรม                                                 -              แห่ง
-                   โรงสีขนาดเล็ก                                                             8              แห่ง
-                   โรงงานขนาดเล็กผลิตบล็อก  ท่อซีเมนต์  เสาคอนกรีต      แห่ง

3. สภาพสังคม
ชาวตำบลศิลาเพชรส่วนใหญ่เป็นครอบครัวที่เป็นเครือญาติเดียวกัน   ไปมาหาสู่กันเสมอ ๆ ส่วนใหญ่จะแต่งงานและแยกครอบครัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้กับบิดามารดา   หรืออยู่ในอาณาเขตรั้วบ้านเดียวกัน   เป็นครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยายที่ที่อบอุ่น    เป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทรต่อกัน

                3.1 การศึกษา
                                -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                          2                              แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา                                     2                              แห่ง
                               - โรงเรียนมัธยมศึกษา                                       1                              แห่ง
                          -  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน             10                       แห่ง
                มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน   แห่ง   โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง  ประชาชนอ่านออกเขียนได้ร้อยละ 95 โดยแยกระดับการศึกษาดังนี้
ระดับประถมศึกษา             ร้อยละ                   29
ระดับมัธยมศึกษา                                ร้อยละ                                  51
ระดับปริญญาตรี                                 ร้อยละ                                  15
ไม่รู้หนังสือ                      ร้อยละ                    5

ข้อมูลบุคลกรด้านการศึกษาในพื้นที่ตำบลศิลาเพชร

ลำดับที่
สถานศึกษา
จำนวนบุคลากรด้านการศึกษา
1

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาคำ ม.1

3
2

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านดอนมูล ม.5

2
3

โรงเรียนบ้านดอนมูล 

10
4

โรงเรียนชุมชนศิลาเพชร

14
5

โรงเรียนศรัทธาศิลาเพชรรังสรรค์

23
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณี
ประชาชนส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 91  และนับถือศาสนาคริตส์  ร้อยละ  วัฒนธรรมของชาวตำบลศิลาเพชรเป็นแบบชาวไทลื้อ   ภาษาพูดเป็นภาษาพื้นเมืองเหนือและภาษาไทลื้อมีการแต่งกายและการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย   มีประเพณีที่สำคัญคือ  การรดน้ำดำหัววันสงกรานต์จำนวนประเพณีตานก๋วยสลาก  ลอยกระทง  เป็นต้น  
                               -   วัด/สำนักสงฆ์                                                                6                              แห่ง
                               -   มัสยิด                                                                               -              แห่ง
                               -   ศาลเจ้า                                                             -                              แห่ง
                               -   โบสถ์คริสต์                                                     1                              แห่ง
                3.3 การสาธารณสุข
                                -    โรงพยาบาลของรัฐขนาด- เตียง                -                              แห่ง
                                -     สถานีอนามัยประจำตำบล/ หมู่บ้าน                      1              แห่ง
                           -     สถานพยาบาลเอกชน                                                                2              แห่ง
                                -     ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                                              -              แห่ง
-     อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
-      อัตราการมีน้ำสะอาดดื่มและบริโภคร้อยละ   90

4. การบริการพื้นฐาน
                4.1 การคมนาคม
                    -         มีถนนลาดยางระยะทาง                                    10           กม.
                    -         ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก(คสล.)                      22           กม.
                    -         ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่(คสม.)                     -              กม.
                    -         ถนนลูกรัง                                                             23           กม.
4.2 การโทรคมนาคม
                   -          ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอนุญาต                    1              แห่ง
                   -          สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ                                    -              แห่ง
                4.3 การไฟฟ้า
                   -          จำนวน 10 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้       1,275     ครัวเรือน
                4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
                   -          ลำน้ำ , ลำห้วย                                                     9              สาย
                   -          บึงหนองและอื่นๆ                                              -              แห่ง
               4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
                   -          ฝาย                                                                         13           แห่ง
                   -          บ่อน้ำตื้น                                                               280         แห่ง
                   -          บ่อโยก                                                                   15           แห่ง
                   -          อ่างเก็บน้ำสระน้ำ                                                 3           แห่ง

5. ข้อมูลอื่นๆ
                                5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
      -     ป่าไม้เบญจพรรณที่สมบูรณ์ประมาณ                     4,652     ไร่
-                   น้ำตกศิลาเพชร  
-                   น้ำตกวังต้นตอง
-                   น้ำตกห้วยบง
5.2 มวลชนจัดตั้ง
 -             ลูกเสือชาวบ้าน                                               3                           รุ่น       860          คน
 -             ไทยอาสาป้องกันชาติ                                     1                              รุ่น          70          คน
 -             กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ                  1                              รุ่น          19          คน
 -             อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน                 2                              รุ่น        101       คน
 -             อื่นๆ                                                                -                               รุ่น          -              คน

   ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น

1.ศักยภาพของชุมชน
1.1 การรวมกลุ่มของประชาชน
                อำนวยกลุ่มทุกประเภท                                                                      24                           กลุ่ม
                แยกประเภทกลุ่ม
                -              กลุ่มอาชีพ                                                                             33                           กลุ่ม
                -              กลุ่มออมทรัพย์                                                                    9                            กลุ่ม
                -              กลุ่มอื่นๆ                                                                               2                            กลุ่ม
1.2 จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
-                   ระบบไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
-                   ประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-                   ความเข้มแข็งของประชาคมภายในพื้นที่
-                   ตำบลศิลาเพชร มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีศักยภาพในการพัฒนา ด้านการเกษตรและแหล่งท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์ สวยงาม ควรค่าแก่การอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งน้ำสำหรับทำการเกษตร ได้แก่ ป่าต้นน้ำ ป่าชุมชน น้ำตก ลำน้ำ ลำห้วย โดย
-                   สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ มีดังนี้
                น้ำตกศิลาเพชร    บริเวณบ้านป่าตองดอนทรายทอง หมู่ที่ ตำบลศิลาเพชร




น้ำตกห้วยบง    บริเวณบ้านป่าตองดอนทรายทอง หมู่ที่ ตำบลศิลาเพชร
-
                น้ำตกวังต้นตอง   บริเวณบ้านดอนแก้ว        หมู่ที่ 4   ตำบลศิลาเพชร

กลุ่มแปรรูปอาหาร เช่น ข้าวแต๋นเมืองย่าง,น้ำพริกปลาย่าง,น้ำพริกเผา,น้ำพริกข่า,แหนม, บริเวณบ้านป่าตองพัฒนา  หมู่ที่ 9,กลุ่มทำน้ำปลา หมู่ที่ 5


กลุ่มทอผ้า  หมู่ที่ 1,2,4,10  ตำบลศิลาเพชร
                -
                พระเพชรพระคู่บ้านคู่เมือง มีจำนวน 2 องค์ ประดิษฐานอยู่วัดนาคำ หมู่ที่ 1 และวัดป่าตอง หมู่ที่ 8
                
แหล่งอ้างอิงข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร,ผู้ใหญ่บ้าน,และผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชุมชน




บ้านนาคำ หมู่ที่  1

1.  ประวัติบ้านนาคำ
                ประมาณปี พ.. 2246 สมัยพระเมืองราชาปกครองเมืองน่าน  ได้ถูกศึกพม่ามารบกวนเมืองอีก และได้เจ้าเมืองเล็นซึ่งปกครองเมืองเล็นอยู่ทางทิศเหนือนของเมืองน่านก็ถูกพม่ารกวนเช่นกัน เจ้าเมืองเล็นอยู่ทางทิศเมืองย่างและได้ปกครองเมืองย่างสืบต่อมา ท่านผู้นี้ได้นำราษฎรในปกครองบางส่วนแผ้วถางป่าบุกเบิกทำนาและสร้างฝายน้ำบั่ว  จัดตั้งหมู่บ้านขึ้นเหนือทุ่งนา  ชื่อว่า  บ้านหัวทุ่ง  และได้สร้างอารามสงฆ์ขึ้นในหมู่บ้าน (วัดนาคำ) ต่อจากนั้นมาเป็นเวลาหลายปีราษฎรในหมู่บ้านหัวทุ่งมีมากขึ้น  จึงได้รวมกันเสาะหาแหล่งขุดลำเหมืองเหนือฝายน้ำบั่วขึ้นไปประมาณ  500  เมตรเมื่อได้สถานที่สร้างฝายแล้วจึงลงมือขุดลำเหมืองขึ้น  เมื่อดำเนินการขุดไป  เนื้อที่ที่ขุดล้วนเป็นแต่หินก้อนใหญ่  ขุดเจาะตรงไหนล้วนเจอกระดานหินทั้งนั้น  ราษฎรกลุ่มนั้นจึงเกิดความท้อใจเลิกล้มความตั้งใจดังกล่าว  มีราษฎรบางคนถึงกับกล่าวขึ้นมาว่า  ถึงว่านาจะเกิดเป็นทองคำขึ้นมาก็ไม่เอาแล้ว คงเหลือร่องรอยการขุดเจาะลำเหมืองไว้เป็นสัญลักษณ์เล็กน้อย(ภายหลังจึงเรียกว่า  ปากเหมืองนาคำสืบต่อมาจนถึงบัดนี้)
                เมืองย่างมีผู้ปกครองสืบต่อมาอีกหลายคน  จนถึงปี  พศ.  2446  เจ้าเมืองน่านได้แต่งตั้ง นายเมืองแก้ว  ฑีฆาวงค์  ขึ้นปกครองเมืองย่าง  ชื่อว่าพญาเพชร  เมืองมูล  ท่านผู้นี้ได้ช่วยทางราชการตามกบฏเงี้ยว  ที่บ้านบ่อหลวงอำเภอบ่อเกลือจนสำเร็จ   ในช่วงเวลาที่ท่านปกครอง  ท่านได้เปลี่ยนนามเมืองย่างเป็น  ตำบลศิลาเพชร  และเปลี่ยนนามบ้านหัวทุ่งเป็น  บ้านนาคำ  ตั้งแต่บัดนั้นมา  ท่านปกครองตำบลศิลาเพชรอยู่  7  ปี จึงลาออก 
                ต่อมาปี  2523  ทางกรมชลประทานได้มาสร้างอ่างเก็บน้ำตามแนวพระราชดำริ (อ่างห้วยบั่ว ) ณ  เหนือฝายน้ำบั่วขึ้นไปประมาณ  200 เมตร  เก็บกักน้ำบั่วไว้ใช้ในทุกฤดูกาล

1.1  อาณาเขตติต่อดังนี้
ทิศเหนือ                                ติดเขตตำบลศิลาแลงกับตำบลป่ากลาง
ทิศใต้                                      ติดเขตบ้านป่าตองดอนทรายทอง 
ทิศตะวันออก                       ติดกับเทือกเขาภูคา
ทิศตะวันตก                          ติดกับบ้านทุ่งศรีบุญยืน  หมู่  2

1.2ข้อมูลประชากร
                ประชากรของบ้านนาคำ หมู่ที่1ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นชาวไทลื้อ มีจำนวน 219 ครัวเรือน รวม 753 คน เป็นชาย 377 คน หญิง 376 คน นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพ หลักทางการเกษตร บางส่วนประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้างก่อสร้าง  มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก1 แห่ง มีวัด 1 แห่ง คือวัดนาคำมีประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ การสงเคราะห์บ้าน   สรงน้ำพระเพชร ซึ้งทำพิธีในเดือนเมษายนของทุกปี  การเลี้ยงผีขุนน้ำ  ทำในเดือนกรกฎาคมของทุกปี  ก่อนวันเข้าพรรษา  สรงน้ำเจดีย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน มีอิทธิพลต่อความเชื่อ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน

1.3  สถานที่
1. วัดนาคำ

1.4   วัฒนธรรมประเพณี (วันสำคัญแต่ละเดือน)
มกราคม  วันขึ้นปีใหม่ ทำบุญตักบาตร ตานข้าวใหม่ให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
กุมภาพันธ์  ทำบุญวันมาฆะบูชา ตักบาตร
มีนาคม  -
เมษายน  ปีใหม่เมือง ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ  สรงน้ำพระเพชร  สู่ขวัญ ขนทรายเข้าวัด
                การส่งเคราะห์บ้าน
พฤษภาคม สรงน้ำเจดีย์
มิถุนายน  วันวิสาขบูชา  ทำบุญตักบาตร เวียนเทียน บรรพชาอุปสมบท ลงแขกทำนา
กรกฎาคม  อาสาฬหบูชา  วันเข้าพรรษา เวียนเทียน ทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษา
สิงหาคม  วันแม่แห่งชาติ พัฒนาหมู่บ้าน ทำบุญทุกวันพระ สืบซะตาข้าว
กันยายน  ทำบุญทุกวันพระ
ตุลาคม  วันออกพรรษา  ทำบุญตักบาตร  วันปิยะหมาราช  ลงแขกเกี่ยวข้าว
พฤศจิกายน  ทำบุญทอดกฐิน  ทานสลาก  ลอยกระทง  ลงแขกเกี่ยวข้าว
ธันวาคม  วันพ่อแห่งชาติ  พัฒนาหมู่บ้าน  วันส่งท้ายปีเก่า

2.   ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                การจักสาน  ตระกร้า  กระบุง  ไม้กวาดดอกหญ้า  ไม้กวาดทางมะพร้าว
                การสู่ขวัญ
ภาษา ล้านนา/พิธีกรรม
แกะสลัก
ตัดเย็บเสื้อผ้า
เย็บแบบ ทำบายศรี
ผ้าทอไทลื้อ
2.1  ปราชญ์ชาวบ้าน
1. นายสมเกียรติ  นาคอ้าย                                 ด้านสู่ขวัญ,ภาษาเมือง
2. นายเสาร์           ลำนัย                                      ด้านแกะสลัก,จักสาน
3. นายคำแสง       ปัญญาวรรณรักษณ์             ด้านหมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน
4. นายขัน             จินดาสวัสดิ์                           ด้านสู่ขวัญ
5. นางคำดี            สุขสอน                                 ด้านการทอผ้า
2.2   กลุ่ม/องค์กรที่เข้มแข็งในชุมชน
1.  กลุ่มสตรีแม่บ้าน
2.  กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข
3.  กลุ่มกองทุนหมูบ้าน
4.  สัจจะออมทรัพย์
5.  กลุ่มผู้สูงอายุ
6.  กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์
7.  กลุ่มทอผ้า
2.3   ผลิตภัณฑ์ชุมชน/ผลผลิต
1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน
  - เครื่องจักสาน
                 - หมวก  กระด้ง  ตระกร้า  ไซ  ตุ้ม
  - สุราพื้นบ้าน
 -  น้ำปู๋ 
 -  ผ้าทอไทลื้อ
2.  ผลผลิตชุมชน
                - ผักกาด                กระเทียม
                -  พริก                   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                -  ไม้สัก                 ข้าวเหนียว
                -  แตงกวา             กะหล่ำปลี
                -  หอมแดง           ถั่วลิสง

2.4   ความสัมพันธ์ในชุมชน
                ประชากรมีความเอื้ออาทรต่อกัน เป็นเครือญาติโดยเฉพาะในการมีงานส่วนรวมทุกคนจะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักสามัคคี การเรียนรู้กฎธรรมเนียมของหมู่บ้าน พูดภาษาไทลื้อ ทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน
2.5   ทรัพยากรธรรมชาติ
                - ป่าชุมชน
                - อ่างเก็บน้ำ

3.  ความคาดหวังของชุมชน( วิสัยทัศน์)
                อยากให้ชุมชน ได้รัยการพัฒนาในทุกๆด้าน รักความสามัคคี ไม่เห็นแก่ตัว ลดการใช้สารเคมี  พึ่งพาปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สุขภาพดีถ้วยหน้า ปลอดยาเสพติด อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนะรรมประเพณี

4.  ปัญหาจากข้อมูล จปฐ. ( ตกเกณฑ์)
จากการจักเก็บข้อมูล จปฐ. ปี2550 บ้านป่าตอง วิเคราะห์ได้ดังนี้
                หมวดที่ 1 สุขภาพดี (ประชาชนมีสุขภาพดี) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทั้ง13 ข้อ  แต่มีจำนวนที่ต้องแก้ไข คือ ข้อ 9 ทุกคนในครอบเรือนได้กินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตราฐาน
 หมวดที่ 2  มีบ้านอาศัย  (ประชาชนมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทั้ง  8ข้อไม่มีจำนวนที่ต้องแก้ไข
                หมวดที่ 3 ฝักไฝ่การศึกษา  ( ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงบริการด้านการศึกษา) ผ่าเกณฑ์ จปฐ.6ข้อ ไม่ผ่านเกณฑ์ 1 ข้อ คือข้อ27 อายุ 15-60 ปีเต็ม อ่านเขียนภาษาไทยได้ และคิดเลขอย่างง่ายๆได้ ต้องแก้ไขจำนวน 2 คน จากกข้อมูลทั้งหมด 331 คน ให้การศึกษานอกโรงเรียนสอนแบบเบ็ดเสร็จ
                หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า ( ประชาชนมีการประกอบอาชีพและมีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ) บรรลุ ผ่านเกณฑ์  จปฐ. ทั้ง 3 ข้อ มีจำนวนที่ต้องแก้ไข 1 ข้อ  ข้อ 29  คนอายุ 15-60ปีเต็ม มีการประกอบอาชีพและมีรายได้ ต้องแก้ไขจำนวน 1  จาก 331 คน เพราะเป็นคนไม่สมประกอบ
                หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยม  ( ประชาชนที่มีการปลูกฝังค่านิยมไทยให้กับตนเองเพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. 6 ข้อ ไม่มีจำนวนแก้ไข
                หมวดที่ 6 ร่วมใจพัฒนา  ( ประชาชนมีจิตสำนึกและร่วมกันรักษาสิทธิของตนเองเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทั้ง 5 ข้อ แต่มีจำนวนที่ต้องแก้ไข 1 ข้อ คือ  ข้อ42 คนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ทีสิทธิเลือกตั้ไปใช้สิทธิเลือกในชุมชนของตน ต้องแก้ไขจำนวน 5 คน จาก 386 คนขอขอบคุณ  คุณพ่อสวัสดิ์   ธรรมสละ ผู้ให้ข้อมูล

ขอขอบคุณ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  นางมนเทียน  เสมอใจ
แหล่งอ้างอิงข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร,ผู้ใหญ่บ้าน,และผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชุมชน




ประวัติหมู่บ้านทุ่งศรีบุญยืน
หมู่ที่ 2 ตำบล ศิลาเพชร อำเภอ ปัว  จังหวัด น่าน
......................................................................................................

                ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านทุ่งศรีบุญยืน หมู่ที่2 ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าเป็นมาอย่างไรเพราะไม่มีใครบันทึกไว้เป็นตัวอักษร แต่จากคำเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านพอได้ใจความดังนี้
                เมื่อสมัยก่อนพ่อขุนเกษมซึ่งเป็นหัวหน้าเมืองเล็กๆ ได้อพยพครอบครัวหนีสงครามจากพม่าที่ต้องการหัวเมืองต่างๆ ของไทยมาเป็นเมืองขึ้นและต้องการพื้นทางเชียเกียงที่ครอบครัวพ่อขุนเกษมอาศัยอยู่มาเป็นฐานทัพ พ่อขุนเกษมและครอบครัวอพยพมาเรื่อยๆ จนพบที่ดินร้างแห่งหนึ่งซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า ก๊อด มีลักษณะเป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำล้อมรอบพ่อขุนเกษมคิดว่าศัตรูคงบุกมาไม่ถึงจึงเอาไม้ไผ่มาทำเป็นเพิงอาศัยอยู่กับครอบครัว และต่อมาก็มีคนอื่นอพยพมาอยู่ด้วย พ่อขุนเกษมจึงให้ทุกคนช่วยกันถางป่าออกไปอีกและเริ่มหามมาสร้างบ้านเป็นที่พักอาศัย ต่อมาพ่อขุนเกษมได้เสียชีวิตชาวบ้านซึ่งตอนนั้นเรียกว่าบ้าน ก๊อด ได้เลือกตั้งผู้นำหมู่บ้านที่เรียกว่านายแถวได้พ่อหลวงแสนเป็นผู้นำหมู่บ้าน พ่อหลวงแสนร่วมกับชาวบ้านช่วยกันพัฒนาเพิ่มอาณาเขตหมู่บ้านให้ใหญ่ขึ้น พ่อหลวงแสนปกครองหมู่บ้านได้ 15 ปี ก็เสียชีวิตและได้พ่อหลวงกันทะมาเป็นนายแถวแทนพ่อหลวงกันทะและภรรยาคือนางขันคำได้ช่วยกันปกครองหมู่บ้านเป็นเวลา 19 ปี พ่อหลวงกันทะก็เสียชีวิตและได้พ่อหลวงปั๋นมาเป็นนายแถวแทน พ่อหลวงปั๋นมีภรรยาชื่อนางภา ทั้งสองคนพร้อมกับชาวบ้านเริ่มทำไร่ข้าวมากขึ้นเพื่อนำไปแลกกับอาหารและเสื้อผ้ากับคนต่างบ้านพ่อหลวงปั๋นเป็นนายแถวได้ 20 ปี ก็เสียชีวิตซึ่งขณะนั้นบ้านก๊อดมีจำนวนประชากรทั้งหมดร้อยกว่าชีวิต และได้เลือกนายเขียวมาเป็นนายแถวและเปลี่ยนมาเป็นผู้ใหญ่บ้านเรียกตามชื่อหมู่บ้านอื่นและได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจากบ้านก๊อดมาเป็นบ้านทุ่งศรีบุญยืน นายเขียวเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ 16 ปี ก็เสียชีวิตชาวบ้านจึงคัดเลือกพ่อหลวงมูลมาเป็นผู้ใหญ่บ้านแทน พ่อหลวงมูลปกครองลูกบ้านได้เพียง 8 ปี ก็เสียชีวิตด้วยโรคชรา ชาวบ้านจึงเลือกพ่อหลวงหวินมาปกครองบ้านแทน พอพ่อหลวงหวินเสียชีวิต ชาวบ้านก็เลือกผู้นำคนใหม่ชื่อนาย สมฤทธ์ สุทธิแสน ซึ่งปกครองหมู่บ้านได้ไม่นานก็ลาออกและได้ ผู้ใหญ่ประสิทธิ ใหม่วงค์ มาเป็นผู้ใหญ่บ้านแทนจนถึง พ.ศ. 2527 ผู้ใหญ่ประสิทธิ ใหม่วงค์ก็ได้ลาออกจากตำแหน่ง ชาวบ้านจึงได้เลือกผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ชื่อนายสมบูรณ์ เสมอใจ และได้ปกครองบ้านทุ่งศรียุญยืนมาจนถึงปัจจุบัน

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ               ติดต่อกับ               หมู่บ้านนาคำ ต.ศิลาเพชร อ.ปัว
ทิศใต้                     ติดต่อกับ               หมู่บ้านทุ่งรัตนา  ต.ศิลาเพชร อ.ปัว
ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ               หมู่บ้านป่าตอง ต.ศิลาเพชร อ.ปัว
ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ               เขตป่าไม้ของชุมชนบ้านทุ่งศรีบุญยืน ต.ศิลาเพชร อ.ปัว


ขนาดของพื้นที่ สถานที่ตั้ง
                บ้านทุ่งศรีบุญยืนตั้งอยู่ระหว่างบ้านนาคำกับบ้านทุ่งรัตนา มีเนื้อที่ประมาณ 3500 ไร่ มีแม่น้ำล้อมรอบคือ แม่น้ำบั่ว และภูเขาคือ ดอยภูคา เป็นพื้นที่ราบเหมาะแก่การเพาะปลูกเพราะเป็นดินร่วน

โครงสร้างการปกครองของชุมชนบ้านทุ่งศรีบุญยืน

นายสมบูรณ์ เสมอใจ
(ผู้นำหมู่บ้าน)

     นายประดิษฐ์ พรหมปา                 นายประถม พรมวังขวา                                        นายประวร มิสละ
                 (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน)                         (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน)                                              (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน)

ข้อมูลด้านประชากรของหมู่บ้านทุ่งศรีบุญยืน
ลักษณะประชากร
จำนวน
ครัวเรือน
73
ประชากร
310
เพศ
-                   ชาย
-                   หญิง

161
149
ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป
8
คนพิการ
5
ราษฎรที่อ่านหนังสือไม่ออก
5
ผู้ติดยาเสพติด
3
ผู้ติดเชื้อโรคเอดส์
1

กลุ่มในชุมชนบ้านทุ่งศรีบุญยืน
ชื่อกลุ่ม
ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.
สมาชิกกลุ่ม (คน)
กลุ่มแม่บ้าน
2538
18
กลุ่มเยาวชน
2538
42
กองทุนหมู่บ้านอาสาสมัครป้องกันตัวเอง (อ.พ.ป.)
2514
73
กลุ่มออมทรัพย์
2543
54
กลุ่มทอผ้า
2540
20

รายชื่อผู้นำชุมชนบ้านทุ่งศรีบุญยืน
ชื่อ
ตำแหน่ง
นายสมบูรณ์ เสมอใจ
ผู้ใหญ่บ้าน / ประธานกองทุนหมู่บ้าน
นายประดิษฐ์ พรหมปา
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายประถม พรมวังขวา
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายประวร มิสละ
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
นายธวัช มิสละ
สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล
นายสุทัศน์ หูวิราช
สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล
นายมงคล จันดา
ผู้สื่อข่าวสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ด้านสังคมและวัฒนธรรม
สถานศึกษา จำนวนครูและนักเรียนในชุมชน
                ใน พ.ศ. 2544 โรงเรียนบ้านทุ่งศรีบุญยืนได้ยุบโรงเรียนเพราะจำนวนนักเรียนมีน้อย โดยให้นักเรียนทั้งหมดไปเรียนที่โรงเรียนชุมชนศิลาเพชร

ภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชนบ้านทุ่งศรีบุญยืน (ผู้รู้ / ผู้นำ / บุคคลตัวอย่าง)

ประเภท
ผู้เชี่ยวชาญ

ด้านการเกษตร
นางวิไล มิสละ
นายประมวล ไชยวงค์
นายบุญน้อม เสมอใจ
ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
นายสองเมือง ภัยปัญญา
ด้านการแพทย์แผนไทย
นายเลื่อน ทิขัติ
ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน
นายสมบูรณ์ เสมอใจ
ด้านศิลปกรรม
นายถนอม หูวิราช
ด้านปรัชญา ศาสนา ประเพณี
นายถนอม หูวิราช

วัฒนธรรม
วัด                           1 แห่ง คือวัดทุ่งศรีบุญยืน
พระ                       จำนวน 3 รูป
เณร                        จำนวน 2 รูป
ภาษา                      คือภาษาลื้อ
แหล่งท่องเที่ยว คือ น้ำตกศิลาเพชร

ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชุมชนบ้านทุ่งศรีบุญยืน
เดือน
ประเพณี
มกราคม
ทำบุญขึ้นปีใหม่
กุมภาพันธ์
ทำบุญวันมาฆบูชา
เมษายน
งานสงกรานต์
กรกฎาคม
งานวันเข้าพรรษา
ตุลาคม
งานวันออกพรรษา เทศกาลตานก๋วยสลาก
พฤศจิกายน
งานลอยกระทง
ธันวาคม
งานกลับคืนสู่เย้า รักบ้านเกิด


ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านทุ่งศรีบุญยืน
พื้นที่ในการเพาะปลูก

ที่ดินทางการเกษตร
ประเภท
จำนวนไร่
พื้นที่ในการทำการเกษตรทั้งหมด
244
พื้นที่ในการทำนาทั้งหมด
163
พื้นที่ในการทำสวนทั้งหมด
81

ที่ดินทำกินที่เป็นของตนเอง
จำนวน
ครอบครัว
1-5 ไร่
53
6-10 ไร่
1
50 ไร่ขึ้นไป
2
ที่ดินไม่ได้เอกสาร 2500 ไร่
17

ธุรกิจในชุมชนและกลุ่มการผลิต
ธุรกิจ
จำนวน
ร้านขายของชำ
2 ร้าน
โรงสี
3 โรง
เลี้ยงวัว
138 ตัว
เลี้ยงสุกร
105 ตัว
เลี้ยงปลา
15000 ตัว
เลี้ยงกระบือ
1 ตัว
เลี้ยงไก่
450 ตัว
เลี้ยงเป็ด
46 ตัว

ข้างต้นจะเห็นได้ว่าชุมชนบ้านทุ่งศรีบุญยืนมีร้านค้า 2 ร้าน เพราะเป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก มีโรงสีข้าว 3 โรงซึ่งเพียงพอต่อการใช้บริการของคนในหมู่บ้าน การเลี้ยงวัวและสุกรจะเพิ่มปริมาณอยู่ตลอดเพราะมีเงินกองทุนหมู่บ้านดำเนินกิจการ การเลี้ยงปลาส่วนมากนำมาบริโภคมากกว่านำมาขาย การเลี้ยงไก่และเป็ดก็เช่นเดียวกันถ้าเหลือจากการบริโภคถึงจะนำมาขาย กิจกรรมทุกอย่างไม่มีการจ้างแรงงานเพราะจะทำการในครอบครัว

อาชีพของคนในชุมชนบ้านทุ่งศรีบุญยืน
อาชีพ
จำนวนครอบครัว
ทำนา
64
ทำสวน
5
ค้าขาย
2
รับจ้าง
2

อาชีพส่วนใหญ่ของประชากรบ้านทุ่งศรีบุญยืนคือการเกษตรโดยเฉพาะการทำนา
แต่เดิมนั้นประชากรในหมู่บ้านนิยมการทำไร่ เช่น ไร่ข้าว ไร่ถั่วลิสงค์ ไร่ข้างโพด แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ก็ต้องเลิกทำเพราะได้ผลผลิตน้อยไม่คุ้มต่อการลงทุน
                และต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ก็ได้มีอาชีพใหม่เพิ่มขึ้นคืออาชีพทำสวนผักปลอดสารพิษ
และปี พ.ศ. 2540 คืออาชีพทอผ้า
ความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้าน
                ประชาชนบ้านทุ่งศรีบุญยืนเป็นคนเผ่าพื้นเมืองหรือที่เรียกว่า เผ่าลื้อ พูดภาษาชาวบ้านหรือภาษาลื้อ การดำเนินชีวิตประจำวันเน้นขนบธรรมเนียมแบบชาวบ้านที่ปฏิบัติร่วมกันมาเป็นเวลาหลายปี อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะเก็บเกี่ยวผลผลิตทีมีอยู่โดยการเอาแรงกันหรือที่เรียกกันว่า การลงแขก การดำเนินชีวิตเรียบง่ายตามประสาคนท้องถิ่น
นายสมบูรณ์ เสมอใจ (ผู้ใหญ่บ้าน) บ้านเลขที่ 62 หมู่ที่2 อายุ 54 ปี ผู้ให้ข้อมูล
แหล่งอ้างอิงข้อมูล  องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร,ผู้ใหญ่บ้าน,และผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชุมชน



บ้านป่าตอง หมู่ที่ 3 ตำบล ศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

1 ข้อมูลทั่วไป
1.1 ประวัติหมู่บ้าน
 บ้านป่าตอง เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ ตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1820 โดยพญาภูคา ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ บริเวณเดิมเป็นเมืองย่าง หรือเมืองล่าง มีเพียงหมู่บ้านเล็กๆ มีชื่อว่าบ้านก๋าปุง หรือบ้านบ่อตอง (ปัจจุบันเรียกว่าป่าตอง) ราษฎรเป็นชาวเขมรและลั๊วะ  และได้ยกย่องให้พญาภูคาเป็นเจ้าเมืองล่าง เมื่อเดือน 3 เหนือ ขึ้น 1 ค่ำ พุทธศักราช 1840 เป็นต้นมา และถือได้ว่าเป็นเมืองย่างหรือบ้านป่าตองในปัจจุบันเป็นต้นกำเนิดของเมืองน่าน

1.2 ข้อมูลประชากร
ประชากรของบ้านป่าตอง หมู่ที่3 ตำบล ศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นชาวไทลื้อ มีจำนวน 87 ครัวเรือน รวม 345 คน เป็นชาย 160 คน หญิง 185 คน นับถือศาสนาพุทธ
 ประกอบอาชีพหลัก ทางการเกษตร บางส่วนประกอบอาชีพอื่น เช่น รับจ้างก่อสร้าง
อาชีพเสริมของชาวบ้าน เช่น การค้าขายในบริเวณน้ำตกศิลาเพชร
มีโรงเรียนประถมศึกษา 1แห่ง มีวัด 1 แห่ง คือวัดป่าตอง
ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ การสงเคราะห์บ้าน รดน้ำผาควาย ประเพณีค้ำโพธิ์ สงน้ำพระเพชร และประเพณีค้ำโพธิ์ สงน้ำพระเพชร ซึ้งทำพิธีในเดือนเมษายนของทุกปี ซึ้งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน มีอิทธิพลต่อความเชื่อ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เกิดความรักความสมัคคีในชุมชน

1.3 สภาพ ทางภูมิอากาศ
บ้านป่าตอง อยู่ห่างจากอำเภอปัว 12 กม. อยู่ห่างจาก จังหวัดน่าน 76 กม. พื้นที่ของหมู่บ้านเป็น ที่ราบต่ำมีลำน้ำย่างไหลผ่าน มีเนื้อที่ทั้งหมด 337 ไร่ ใช้ทำการเกษตร 275 ไร่  
     มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ                                ติดกับ  บ้านป่าตองดอนทรายทอง หมู่ที่ 8 ตำบล ศิลาเพชร
ทิศใต้                                ติดกับ  บ้านป่าตองพัฒนา  หมู่ที่ 9 ตำบล ศิลาเพชร
ทิศตะวันออก                     ติดกับ  ลำน้ำย่างและเทือกเขาดอยภูคา หมู่ที่8   ตำบล ศิลาเพชร
ทิศตะวันตก                      ติดกับ    บ้านป่าตองพัฒนาหมู่ที่ 9  ตำบล ศิลาเพชร
2 ศักยภาพของชุมชน
2.1 สิ่งที่ชุมชนเคารพนับถือ  (คน, สถานที่)
บุคคล
1. พระครูสุภัทรนันทวิทย์ เจ้าอาวาสวัดป่าตอง
2. นายประสิทธิ์   ปรังฤทธิ์                                บ้านเลขที่  10
3.นายเฉลิม           เสมอใจ                                “               47
4 นายบรรเจิด       จันทรา                                  “            38
5 นายสนั่น           ปรังฤทธิ์                                “            82
6 นายสมุน           หาญยุทธ                         “           78
7 นายถึง                  ปรังการ                         “                     53
8 นายไปร่               กองกุณะ                                  “            57

 สถานที่
1. วัดป่าตอง
2. วังผาควาย
3. ศาลเจ้าหลวงภูคา

2.2 วัฒนธรรมประเพณี (วันสำคัญแต่ละเดือน)
มกราคม  วันขึ้นปีใหม่ ทำบุญตักบาตร ตานข้าวใหม่ให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
กุมภาพันธ์  ทำบุญวันมาฆะบูชา ตักบาตร
มีนาคม  -
เมษายน  ปีใหม่เมือง ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ  สรงน้ำพระเพชร  สู่ขวัญ ขนทรายเข้าวัด
                การส่งเคราะห์บ้าน
พฤษภาคม  บวงสรวงเจ้าหลวงภูคา ประเพณีค้ำโพธิ์
มิถุนายน  วันวิสาขบูชา  ทำบุญตักบาตร เวียนเทียน บรรพชาอุปสมบท ลงแขกทำนา
กรกฎาคม  อาสาฬหบูชา  วันเข้าพรรษา เวียนเทียน ทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษา
สิงหาคม  วันแม่แห่งชาติ พัฒนาหมู่บ้าน ทำบุญทุกวันพระ สืบซะตาข้าว
กันยายน  ทำบุญทุกวันพระ
ตุลาคม  วันออกพรรษา  ทำบุญตักบาตร  วันปิยะหมาราช  ลงแขกเกี่ยวข้าว
พฤศจิกายน  ทำบุญทอดกฐิน  ทานสลาก  ลอยกระทง  ลงแขกเกี่ยวข้าว
ธันวาคม  วันพ่อแห่งชาติ  พัฒนาหมู่บ้าน  วันส่งท้ายปีเก่า
2.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                ดนตรีไทย
                การจักสาน  ตระกร้า  กระบุง  ไม้กวาดดอกหญ้า  ไม้กวาดทางมะพร้าว
                การผลิตสุราพื้นบ้าน
                การสู่ขวัญ
ภาษา ล้านนา/พิธีกรรม
สมุนไพร
การแปรรูปอาหาร
การทำขนม
2.4  ปราชญ์ชาวบ้าน
        1.  นายสน                 ปรังฤทธิ์                 บ้านเลขที่ 82                    ด้านไสยศาสตร์,สมุนไพร,สู่ขวัญ
        2.  นายเฉลิม             เสมอใจ                  บ้านเลขที่  47                 ด้านวัฒนธรรมล้านนา,สุราพื้นบ้าน
        3.  นายสมุน              หาญยุทธ              บ้านเลขที่  78                   ด้านทำไม้กวาดดอกหญ้า
        4.  นายถึง              ปรังการ                บ้านเลขที่  53                 ด้านจักสาน   
        5.  นายไปร่            กองกุณะ              บ้านเลขที่  57                 ด้านจักสาน
        6.  นางกันหา          องกุณะ                บ้านเลขที่  59                 ด้านดนตรีไทย
        7.  นางกอบแก้ว      เสมอใจ               บ้านเลขที่  35                  ด้านสุราไทย                                     
        8.  นางสุพิศ              เขื่อนอ้าย             บ้านเลขที่  69             ด้านทำขนม
        9.  นางสกุล              ปรังฤทธิ์              บ้านเลขที่  68                               ด้านทำขนม
2.5  แหล่งท่องเที่ยว
                -น้ำตกศิลาเพชร

2.6  กลุ่ม/องค์กรที่เข้มแข็งในชุมชน
1.  กลุ่มสตรีแม่บ้าน
2.  กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข
3.  กลุ่มกองทุ่นหมูบ้าน
4.  กลุ่มเลี้ยงสุกร
5.  เงินกองทุนหมุนเวียนเศรษฐกิจชุมชน
6.  กองทุนส่งเสริมการปลูกพืชผักในไร่นา
7.  กลุ่มผู้สูงอายุ
8.  กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชน
9.  กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์
10.  กลุ่มรักษาน้ำประปา
11.  ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
12.  กองทุนรักษาพยาบาล
13.  กองทุนเพื่อการศึกษา
14.  กองทุนพัฒนาอาชีพป่าตอง
15.  กองทุนร้านค้าชุมชน

2.7 ผลิตภัณฑ์ชุมชน/ผลผลิต
1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน
  - เครื่องจักสาน
                 - หมวก  กระด้ง  ตระกร้า  ไซ  ตุ้ม
  - สุราพื้นบ้าน
 -  น้ำปู๋
2.  ผลผลิตชุมชน
                - ผักกาด                กระเทียม
                -  พริก                   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                -  ไม้สัก                 ข้าวเหนียว
                -  แตงกวา             ใบยาสูบ
                -  หอมแดง           ถั่วลิสง
                -  ไม้ไผ่รวก          กล้วยน้ำว้า
2.8  ความสัมพันธ์ในชุมชน
                ประชากรมีความเอื้ออาทรต่อกัน เป็นเครือญาติโดยเฉพาะในการมีงานส่วนรวมทุกคนจะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักสามัคคี การเรียนรู้กฎธรรมเนียมของหมู่บ้าน พูดภาษาไทลื้อ ทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน

2.9  ทรัพยากรธรรมชาติ
                - ป่าชุมชน
                - น้ำตกศิลาเพชร, ลำน้ำย่าง

3.  ความคาดหวังของชุมชน( วิสัยทัศน์)
                อยากให้ชุมชน ได้รัยการพัฒนาในทุกๆด้าน รักความสามัคคี ไม่เห็นแก่ตัว ลดการใช้สารเคมี  พึ่งพาปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สุขภาพดีถ้วยหน้า ปลอดยาเสพติด อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนะรรมประเพณี


4.  ปัญหาจากข้อมูล จปฐ. ( ตกเกณฑ์)
จากการจักเก็บข้อมูล จปฐ. ปี2550 บ้านป่าตอง วิเคราะห์ได้ดังนี้
                หมวดที่ 1 สุขภาพดี (ประชาชนมีสุขภาพดี) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทั้ง13 ข้อ  แต่มีจำนวนที่ต้องแก้ไข คือ ข้อ 9 ทุกคนในครอบเรือนได้กินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตราฐาน
 หมวดที่ 2  มีบ้านอาศัย  (ประชาชนมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทั้ง  8ข้อไม่มีจำนวนที่ต้องแก้ไข
                หมวดที่ 3 ฝักไฝ่การศึกษา  ( ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงบริการด้านการศึกษา) ผ่าเกณฑ์ จปฐ.6ข้อ ไม่ผ่านเกณฑ์ 1 ข้อ คือข้อ27 อายุ 15-60 ปีเต็ม อ่านเขียนภาษาไทยได้ และคิดเลขอย่างง่ายๆได้ ต้องแก้ไขจำนวน 2 คน จากกข้อมูลทั้งหมด 331 คน ให้การศึกษานอกโรงเรียนสอนแบบเบ็ดเสร็จ
                หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า ( ประชาชนมีการประกอบอาชีพและมีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ) บรรลุ ผ่านเกณฑ์  จปฐ. ทั้ง 3 ข้อ มีจำนวนที่ต้องแก้ไข 1 ข้อ  ข้อ 29  คนอายุ 15-60ปีเต็ม มีการประกอบอาชีพและมีรายได้ ต้องแก้ไขจำนวน 1  จาก 331 คน เพราะเป็นคนไม่สมประกอบ
                หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยม  ( ประชาชนที่มีการปลูกฝังค่านิยมไทยให้กับตนเองเพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. 6 ข้อ ไม่มีจำนวนแก้ไข
                หมวดที่ 6 ร่วมใจพัฒนา  ( ประชาชนมีจิตสำนึกและร่วมกันรักษาสิทธิของตนเองเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทั้ง 5 ข้อ แต่มีจำนวนที่ต้องแก้ไข 1 ข้อ คือ  ข้อ42 คนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ทีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิเลือกในชุมชนของตน ต้องแก้ไขจำนวน 5 คน จาก 386 ค
ขอขอบคุณ  ผู้ใหญ่บ้าน นายบรรเจิด  จันทรา
แหล่งอ้างอิงข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร,ผู้ใหญ่บ้าน,และผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชุมชน



ประวัติบ้านดอนแก้วหมู่  4 ตำบล ศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

1.ข้อมูลทั่วไป
1.1ประวัติหมู่บ้าน
บ้านดอนแก้ว  เป็นหมู่บ้านเก่าแก่  ของตำบล  ศิลาเพชร  เป็นพื้นที่ราบสูงเนินเป็นส่วนใหญ่  เหมาะแก่การเพาะปลูกพื้นทางการเกษตร  ชาวบ้านที่อพยพเข้ามาเป็นรุ่นแรกๆมาจากเมืองลาว  เห็นว่าพื้นที่เมืองย่างบริเวณนี้กว้างขวางเหมาะแก่การทำนา  ทำไร่  ครั้งแรกได้ตั้งถิ่นฐานท้ายบ้าน  ประมาณ  500  เมตร  มีประมาณ  5  หลังคาเรือน  ต่อมามีลูกหลานและคนบ้านใกล้เข้ามาอาศัย  จึงตั้งเป็นหมู่บ้าน ว่า  บ้านพร้าว  มีราษฎร  13  หลังคาเรือน เมื่อฝนตกน้ำป่าไหลหลากจึงอพยพไปอยู่  2  ฝั่งลำห้วยไร่ มีไร่ขึ้นจำนวนมาก จึงตั้งชื่อว่าบ้านห้วยไร่  ภาษาที่ใช้คือภาษาไทลื้อ  ขนบธรรมเนียมไม่ต่างจากบ้านอื่น  นับถือศาสนาพุทธ   ที่ชื่อบ้านดอนแก้ว  เพราะ เป็นหมู่บ้านที่อยู่บนดอนมีก้อนหินสีขาวเหมือนแก้วมากมาย

1.2ข้อมูลประชากร
ประชากรของบ้านดอนแก้ว เป็นชาวไทลื้อ  จำนวน  109  ครัวเรือน รวม 438 คน เป็นชาย  221  คน  หญิง  217  คน  นับถือศาสนาพุทธ  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก  ทางการเกษตร บางส่วนประกอบอาชีพอื่น  เช่น  รับจ้างก่อสร้าง  อาชีพเสริมเช่น  ทอผ้า  ในหมู่บ้านไม่มีโรงเรียน  ไม่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  มีวัดหนึ่งแห่งคือ  วัดดอนแก้ว  ประเพณีที่สำคัญ  คือ  ประเพณีสงกรานต์   และวัฒนธรรมดั้งเดิมคือ  การบายศรีสู่ขวัญเลี้ยงผีขุนน้ำ  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน  มีอิทธิพลต่อความเชื่อ  และเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เกิดความรักกันในชุมชน

1.3สภาพทางภูมิศาสตร์
บ้านดอนแก้วตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอปัว  12  กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดน่าน  65  กิโลเมตร  พื้นที่ของหมู่บ้านดอนแก้วเป็นที่ราบลุ่มและดอน  มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ                                ติดกับบ้านป่าตองพัฒนาหมู่  9
ทิศใต้                                      ติดกับป่าชุมชนบ้านดอนมูลหมู่  5
ทิศตะวันออก                       ติดกับเทือกเขาดอยภูคา
ทิศตะวันตก                          ติดกับบ้านดอนสุขสันต์หมู่  10

1.4กลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน
1.4.1  กลุ่มทางเศรษฐกิจ  ได้แก่
                -  กลุ่มทอผ้า
                กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
                กลุ่มเศรษฐกิจชุมชน
                -   กลุ่มโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
1.4.2  กลุ่มทางสังคมวัฒนธรรม  ได้แก่
                -  กลุ่มสตรีแม่บ้าน
                -   กลุ่ม  อสม.
                -   กลุ่มเยาวชน

1.5  ปราชญ์ชาวบ้าน
1.  นายนุช  คันทะมูล  บ้านเลขที่  65  ด้านการสู่ขวัญภาษาล้านนา
2.  นายกมล  พลจร  บ้านเลขที่  57  ด้านศิลปะวาดเขียนอักษรล้านนา
3.  นายสวัสดิ์   เสมอใจ  บ้านเลขที่  4  ด้านสู่ขวัญพิธีกรรมต่างๆ
4.  นายชำนาญ  ใหม่กันทะ  ด้านสู่ขวัญเล่าค่าว  อักษรล้านนา
5.  นางป้อ  นาคอ้าย  ด้านการดูผีย่าหม้อนึ่ง

ศักยภาพของชุมชน
1.              สิ่งที่ชุมชนนับถือ
บุคคล
1.             นายหน่อ  ชาวยอง  กำนันตำบลศิลาเพชร
2.             นายอุดม  พรมปา  นายกอบต.
3.              นายนุช  คันทะมูล  หมอสู่ขวัญ
4.             นายสวัสดิ์   เสมอใจ  มัครทายก
สถานที่
1.             วัดดอนแก้ว
2.             ดงเสื้อบ้าน (สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ห้ามบุคคลอื่นเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต)

2.  วัฒนธรรมประเพณี
มกราคม  วันขึ้นปีใหม่  ทำบุญตักบาตร  ตานข้าวใหม่
กุมภาพันธ์   ทำบุญวันมาฆบูชา
มีนาคม-
เมษายน  ปีใหม่เมือง  ทำบุญ  รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ  สรงน้ำพระ  ขนทรายเข้าวัด
พฤษภาคม  การแฮกข้าวนา
มิถุนายน   ทำบุญวันวิสาขบูชา
กรกฎาคม  ทำบุญวันอาสาฬหบูชา  วันเข้าพรรษา
สิงหาคม   วันแม่พัฒนาหมู่บ้าน
กันยายน   ทำบุญวันพระ
ตุลาคม   ทำบุญออกพรรษา
พฤศจิกายน  ทำบุญทอดกฐิน  ลอยกระทง  ลงแขกเกี่ยวข้าว
ธันวาคม  วันพ่อ  พัฒนาหมู่บ้าน

3.              ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การทอผ้าไทลื้อด้วยมือ  ผ้าลายโบราณ
การจักสานตะกร้า  กระบุง  ไม้กวาด
การผลิตสุราพื้นบ้าน
การสู่ขวัญ
การแปรรูปอาหาร

4.    แหล่งท่องเที่ยว
หน่วยจัดการต้นน้ำย่าง
วัดดอนแก้วอายุกว่า  100  ปี
หินสามเส้า  หินขนาดใหญ่  อยู่รวมกันเหมือนเตาไฟ  เชื่อว่ามีของสำคัญอยู่ระหว่างกลาง
น้ำตกวังต้นตอง  มีทั้งหมด  6  ชั้น
5.              กลุ่มองค์กรที่เข้มแข็งในชุมชน
1.             กลุ่มสตรีแม่บ้าน
2.             กลุ่มอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง
3.             กลุ่ม  อป.พร.
4.             กลุ่มเยาวชน
5.             อาสาสมัครสาธารณสุข
6.             กลุ่มป้องกันรักษาไฟป่า

7.  ผลิตภัณฑ์ชุมชน  ผลผลิต
- ผ้าทอไทลื้อ
- ผ้าถุงไทลื้อ
- ผ้าเช็ดหน้า
- สุราพื้นบ้าน
- ตะกร้า
-ไม้กวาด
8. กองทุนในชุมชน
กลุ่มทอผ้า
กลุ่มเศรษฐกิจชุมชน
กลุ่ม  อป.พร.
กลุ่มโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
กองทุนหมู่บ้าน
กลุ่มแม่บ้าน
กลุ่มออมทรัพย์
กลุ่มผู้สูงอายุ
อสม.
ศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน
กองทุนแม่ของแผ่นดิน




ประวัติหมู่บ้านดอนมูล
หมู่ที่ 5 ตำบล ศิลาเพชร อำเภอ ปัว  จังหวัด น่าน
......................................................................................................

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านดอนมูล เดิมนั้นการตั้งหมู่บ้าน
ครั้งแรกมีกลุ่มคน 4 กลุ่มคือ
1 กลุ่มบ้านดอน   มีประมาณ 5 ครอบครัว
2 กลุ่มบ้านนอก   มีประมาณ 7 ครอบครัว
3 กลุ่มบ้านดง      มีประมาณ 3 ครอบครัว
4 กลุ่มบ้านศาลา มีประมาณ 11 ครอบครัว
                ต่อมาได้รวมกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน โดยนาย คันธเนตร ตาลตา เป็นแกนนำและเป็นผู้ใหญ่บ้าน คนแรก ตั้งชื่อว่า บ้านดอน เมื่อหมู่บ้านน้ำท่วม ชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนแห่งใหม่ ชื่อว่า บ้านใหม่ (บริเวณบ้านทุ่งรัตนาในปัจจุบัน)
                เมื่อแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล บริเวณที่ตั้งบ้านเดิม มีดินทรายมูลขึ้นจึงสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่ ชื่อว่า บ้านดอนมูล
                ในปี พ.ศ. 2544 นายอุทัย พินิจทะ เป็นผู้ใหญ่บ้านได้เสนอให้มีการแบ่งหมู่บ้าน และได้รับอนุมัติ เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็น 2 หมู่บ้านคือ บ้านดอนมูล หมู่ที่5 และ บ้านดอนสุขสันต์ หมู่ที่10
                ปัจจุบันชุมชนบ้านดอนมูลประกอบด้วย ประชากรจำนวนทั้งหมด 401 คน 103 หลังคาเรือน โดยแยกออกเป็นเพศชาย จำนวน 204 คน และเพศหญิง จำนวน 197 คน

การปกครอง
นายศิลป์ทอง        ทิหล้า                    ผู้ใหญ่บ้าน
นายขจร                 รักสัตย์                   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง
นายสมพล            รักสัตย์                   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง
นายประเมิน        นาคอ้าย                 ผรส.
นายเดช                                 รักสัตย์                   สมาชิก อบต.
นางอัมพร             พินิจทะ                 สมาชิก อบต.
อาณาเขตการติดต่อ
ทิศเหนือ               ติดต่อกับ               บ้านดอนสุขสันต์ หมู่ที่10 และบ้านทุ่งรัตนา หมู่ที่4 ต.ศิลาเพชร
ทิศใต้                     ติดต่อกับ               หมู่บ้านดอนไชย หมู่ที่6 ต.ศิลาเพชร
ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ               เขตอำเภอบ่อเกลือ
ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ               หมู่บ้านดอนไชย หมู่ที่6 ต.ศิลาเพชร

กองทุนต่างๆในหมู่บ้านดอนมูล
1.             กองทุน กข.คจ. /กองทุน อพป.       นายศิลป์ทอง ทิหล้า           ประธานกลุ่ม
2.             กองทุนเงินล้าน                                   นายอุทัย พินิจทะ                ประธานกลุ่ม
3.             กองทุนไฟป่า                                       นายขจร รักสัตย์                  ประธานกลุ่ม
4.             กองทุนวิสาหกิจชุมชน                      นายอุทัย พินิจทะ                ประธานกลุ่ม
5.             กองทุนเพื่อสวัสดิการ                        นางอัมพร พนิจทะ             ประธานกลุ่ม

องค์กรในชุมชนบ้านดอนมูล
-                   ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
-                   ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน
-                   เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล

อาชีพของประชากรในชุมชนบ้านดอนมูล
โดยมากจะเป็นการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม คือการทำนา ทำไร่ ทำสวน ตามฤดูกาล และรับจ้าง (ก่อสร้าง) และหัตถกรรม การจักสาน

สินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านดอนมูล
-                   น้ำปลา (โอทอป)
-                   เครื่องจักสานต่างๆ
-                   ไม้กวาด ไม้ถู และพรมเช็ดเท้า


 น้ำปลาสินค้าโอทอป
ประชากร  การศึกษา
ประชากรในชุมชนบ้านดอนมูลมีทั้งหมดจำนวน 401 คน แยกออกเป็นชายจำนวน 204 และเพศหญิงจำนวน 197 คน มีทั้งหมดจำนวน 103 หลังคาเรือน
ด้านการศึกษา ประชากรชุมชนบ้านดอนมูลกว่า 95% นั้นสามารถอ่าน และเขียนหนังสือได้ โดยส่วนมากผู้ที่ไม่รู้หนังสือจะเป็นผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก

วัฒนธรรมประเพณี
เดือน
ประเพณี
มกราคม
ทำบุญขึ้นปีใหม่
กุมภาพันธ์
ทำบุญวันมาฆบูชา
เมษายน
งานสงกรานต์
กรกฎาคม
งานวันเข้าพรรษา
ตุลาคม
งานวันออกพรรษา
พฤศจิกายน
งานลอยกระทง
ธันวาคม
ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่

จารีตประเพณี/ความเชื่อ
 การสู่ขวัญ                            สืบจาต๋า                                 รดน้ำมนต์                             ใส่ข้าวรดเคราะห์ เซาะเมื่อ                                                                            ส่งมหาสังเกด                      ปูจายันต์เตียน                      ส่งคึด                    
ส่งภัย                                     ส่งเคราะห์                            เสกเป่า ไล่ผี                      เลี้ยงผี เสื้อบ้าน
ผีปู่ ย่า                                                 บวงสรวงเจ้าหลวงภูคา ท้าวอุปราช                             รดน้ำดำหัวเฒ่าแก่

·       จุดประสงค์คือการสร้างขวัญกำลังใจและสืบสานวัฒนธรรมเก่าๆให้คงอยู่

ความเป็นอยู่ การดำรงชีวิตของคนในชุมชนบ้านดอนมูล
การดำเนินชีวิตประจำวันเน้นขนบธรรมเนียมแบบชาวบ้านที่ปฏิบัติร่วมกันมาเป็นเวลาหลายปี อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทุกคนพึ่งพาอาศัยกันแบบพี่น้อง ญาติมิตร การดำเนินชีวิตเรียบง่ายตามประสาคนท้องถิ่น

ภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชนบ้านดอนมูล (ผู้รู้ / ผู้นำ / บุคคลตัวอย่าง)
1.             นายอินปั๋น            ปรังฤทธิ์
2.             นายยงค์                 บุญอินทร์
3.             นายหมื่น              ทิหล้า
4.             นายหวัน               ไชยกันทะ
5.             นางมา                   ขันทะสาร
6.             นางรัก                   ปะเกียร
7.             นางแฟง                รักสัตย์
8.             นางฟองศรี           พินิจทะ
9.             นายสว่าง              ไชยอ้าย
10.      นายปุ๋ย                   พสาร
11.      นายแสวง              พินิจทะ
12.      นางเงิน                                 ปัญญาเงิน


สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

                                                                         





ศาลเจ้าพ่อภูคา และ ท้าวอุปราช สถานที่
ประชากรชุมชนบ้านดอนมูลสักกา





นายอุทัย พินิจทะ (อดีตผู้ใหญ่บ้าน) บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 5  อายุ 43 ปี   ผู้ให้ข้อมูล
แหล่งอ้างอิงข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร,ผู้ใหญ่บ้าน,และผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชุมชน





ประวัติหมู่บ้านดอนไชย
หมู่ที่ 6 ตำบล ศิลาเพชร อำเภอ ปัว  จังหวัด น่าน
......................................................................................................

บ้านดอนไชย เดิมไม่ปรากฏ มีมวลชนกลุ่มหนึ่ง ประมาณ 40 คน อพยพมาจากเมืองยอง จังหวัดเชียงราย เป็นชาวเมืองยอง ได้มาตั้งถิ่นฐาน อยู่ที่ดอนแห่งนี้ และได้มาถากถางสร้างบ้านเรือนอยู่ติดกับ บ้านดอนมูลมาทางทิศตะวันตกเมื่อสร้างบ้านเรือนและเป็นที่อยู่อาศัยเป็นที่เรียบร้อยแล้วราษฎรที่มาอยู่แห่งนี้ มีความสมัครสมานสามัคคี โอบอ้อมอารีรักใคร่กลมเกลียวกัน จึงยกเอาหมู่บ้านแห่งนี้ให้มีชื่อว่าบ้านดอนไชย
ต่อมาราษฎรก็ได้แต่งตั้งให้นายวรรณ ปรังฤทธิ์ ขึ้นเป็นผู้ปกครองหมู่บ้านแห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2390 และได้นำพาให้ราษฎรสร้างอาราม เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแก่ราษฎร
ต่อมานายวรรณ ปรังฤทธิ์ได้ลาออกจากการเป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน และได้ให้นายหวัน ปรังฤทธิ์ บุตรชายมาทำหน้าที่ผู้ปกครองหมู่บ้านดอนไชยแห่งนี้แทน นายหวัน ปรังฤทธิ์ได้ทำหน้าที่ผู้ปกครองเป็นเวลานาน จึงได้ลาออก
ต่อมาชาวบ้านจึงได้แต่งตั้งนายรัตนะ ชาวยองมาทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้านแทน หมู่บ้านแห่งนี้มีเชื้อสายชาวยอง ราษฎรที่มาอยู่อาศัยในสมัยนั้นถ้าได้ให้กำเนิดบุตร ก็ให้ใช้นามสกุล ชาวยอง แต่กำเนิด
ต่อมานายรัตนะก็ได้ลาออกจากตำแหน่งผู้ปกครองหมู่บ้านดอนไชย ทางการจึงให้นายบุญรัตน์ เชียงทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2495

ผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ปกครอง ผู้นำประจำหมู่บ้านดอนไชยมีรายชื่อดังนี้
1.             นายวรรณ             ปรังฤทธิ์                2390 - 2450
2.             นายหวัน               ปรังฤทธิ์                2451 - 2472
3.             นายรัตนะ             ชาวยอง                 2473 - 2495
4.             นายบุญรัตน์         เชียงทอง               2495 - 2509
5.             นายทองเพชร      คำแสน                  2510 - 2516
6.             นายอินแต่ง          ชาวยอง                 2517 - 2524
7.             นายทองเพชร      ชาวยอง                 2525 - 2526
8.             นายประสิทธิ์       เชียงทอง               2527 - 2529
9.             นายฟู                     กับคำ                     2530 - 2534
10.      นายสังวร              นาคอ้าย                 2535 - 2540
11.      นายบุญตวย          วุฒิชัย                    2541 - 2543
12.      นายหลั่น               สุนัน                      2544 - 2548
13.      นายวิทย์                ชาวยอง                 2549 ปัจจุบัน
14.      การปกครอง
นายวิทย์                ชาวยอง                                 ผู้ใหญ่บ้าน
นายอเนก              ชาวยอง                                 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง
นายจั๋น                  รักสัตย์                                   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง
นายสมภาร           คล้ายพงษ์                             พรส.
นายสังวร              นาคอ้าย                                 สมาชิก อบต
นายสำรวย            เชียงทอง                               สมาชิก อบต.

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ                ติดต่อกับ               หมู่บ้านดอนมูล หมู่ที่5 ต.ศิลาเพชร อ.ปัว
ทิศใต้                     ติดต่อกับ               หมู่บ้านน้ำไคร้ ต.ยม อ.ท่าวังผา
ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ               หมู่บ้านหนอง ต.ยม อ.ท่าวังผา
ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ               หมู่บ้านดอนมูล หมู่ที่5 ต.ศิลาเพชร อ.ปัว

อาชีพ
ชุมชนในหมู่บ้านดอนไชยมีอาชีพหลักคือการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม การทำสวน ทำนา และอีกอาชีพหนึ่ง ที่มีมาแต่ช้านานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษคือ อาชีพการทำเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งปัจจุบันก็เหลือไม่กี่ครอบครัวที่ทำอาชีพนี้ เป็นการอนุรักษ์เพื่อชนรุ่นหลัง
การทำเครื่องปั้นดินเผา ดินที่ใช้ในการทำคือ ดินดาก จะหาได้จากท้องนาซึ่งจะอยู่ลึกลงไปประมาณ 1 เมตร เมื่อได้มาค่อยนำมาบดให้ละเอียดโดยเครื่องบด
ในการปั้นแต่ละครั้งการผสมดินนั้นใช้ดิน 3 ส่วน และทราย 1 ส่วน ทรายที่ผสมลงไปในการปั้นแต่ละครั้งนั้นเพื่อการรักษาไม่ให้เครื่องปั้นดินเผานั้นแตกเสียหาย ขั้นตอนการเผานั้นที่ต้องเตรียมคือแกลบ ฟางข้าว ฟืน ใช้เวลาในการเผาเครื่องปั้นดินเผาเป็นเวลา 1 คืน
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการปั้นดินคือ หม้อดิน กระถางต้นไม้ ฯลฯ




นางอ่อน ชาวยอง (อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา) บ้านเลขที่ 83 หมู่ที่6 อายุ 52 ปี
ผู้ให้ข้อมูล เกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา


ที่ดินทางการเกษตร
ประเภท
จำนวนไร่
พื้นที่ในการทำการเกษตรทั้งหมด
599
พื้นที่ในการทำนาทั้งหมด
244
พื้นที่ในการทำสวนทั้งหมด
285
พื้นที่ในการปลูกต้นไม้ยืนต้นทั้งหมด
70

ประชากร การศึกษา
ชุมชนหมู่บ้านดอนไชยมีประชากรทั้งหมดรวม 490 คน แยกออกเป็นเพศชาย จำนวน 246 และเพศหญิงจำนวน 244 คน รวม 116 หลังคาเรือน
ด้านการศึกษา ประชากรชุมชนบ้านดอนไชยกว่า 95% นั้นสามารถอ่าน และเขียนหนังสือได้ โดยส่วนมากผู้ที่ไม่รู้หนังสือจะเป็นผู้สูงอายุ และเด็กเล็ก

วัฒนธรรมประเพณี
มีวัด จำนวน 1 วัด คือ วัดดอนไชย
มีโบสถ์ คริสตจักร 1 โบสถ์



ประเพณีในแต่ละเดือน

เดือน
ประเพณี
มกราคม
ถวายทานข้าวใหม่
กุมภาพันธ์มีนาคม
ทำบุญวันมาฆบูชา, ทำแนวกันไฟ

เมษายน
สงเคราะห์บ้าน, ทำบุญตักบาตร, ก่อเจดีย์ทราย, ขนทรายเข้าวัด, สรงน้ำพระ, บายศรีสู่ขวัญ, สู่ขวัญ, รดน้ำ-ดำหัว, งานสงกรานต์
พฤษภาคม มิถุนายน
วันวิสาขะบูชา
กรกฎาคม
วันเข้าพรรษา, ปลูกต้นไม้
สิงหาคม
วันแม่แห่งชาติ, สืบจาต๋าข้าว
กันยายน ตุลาคม
ออกพรรษา
พฤศจิกายน
ทอดกฐิน, ลอยกระทง
ธันวาคม
วันพ่อแห่งชาติ, ปิดงบการเงิน, ส่งท้ายปีเก่า, ต้อนรับปีใหม่




·       หมายเหตุจะมีการทำบุญตักบาตรและพัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญต่างๆ
จากตารางจะเห็นได้ว่าชาวบ้านในชุมชนหมู่บ้านดอนไชยจะมีวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ คล้ายๆกับชุมชนอื่น

ภาษา
ภาษาที่ใช้พูดคือ ภาษาไทยลื้อ
ภาษาที่ใช้เขียนคือ ภาษาไทยกลาง

การแต่งกาย
ประชากรในชุมชนหมู่บ้านดอนไชย แต่งกายแบบธรรมดาสากลทั่วไป

ศาสนา
ประชากรในชุมชนหมู่บ้านดอนไชยนับถือ ศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์

ความเชื่อ
เซาะเมื่อ                                ปูจายันต์เตียน                      ส่งคึด                                     บายศรีสู่ขวัญ
การสู่ขวัญ                             สืบจาต๋าข้าว                          รดน้ำมนต์                             ใส่ข้าวรดเคราะห์
ส่งภัย                                     ส่งเคราะห์                            เลี้ยงผี เสื้อบ้าน                ผีปู่ ย่า                
รดน้ำดำหัวเฒ่าแก่
·       จุดประสงค์คือการสร้างขวัญกำลังใจและสืบสานวัฒนธรรมเก่าๆให้คงอยู่

ความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต
                ประชากรในชุมชนบ้านดอนไชยแห่งนี้ มีชีวิตความเป็นอยู่แบบชาวบ้านแบบเรียบง่าย
หาเช้ากินค่ำ ทุกคนมีน้ำใจไมตรี ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ต่อกัน เหมือนญาติพี่น้อง ประชากรในชุมชนแห่งนี้ดำรงชีพด้วยการทำไร่ ทำนา ทำสวนทั่วไป พอเลี้ยงชีพของตนได้ อาหารการกินทุกอย่างก็เป็นแบบชนชาวพื้นเมืองปรกติ

ภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชนบ้านดอนไชย (ผู้รู้ / ผู้นำ / บุคคลตัวอย่าง)
-         นายบุญทง            ชาวยอง                 หมอสู่ขวัญ
-         นายเสถียร            กันทะมูล              หมอเลี้ยงผี,ส่งผี





 นายบุญตวย วุฒิชัย บ้านเลขที่46 หมู่ที่6 อายุ 69 ปี
ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติหมู่บ้านดอนไชย

นายทง ชาวยอง บ้านเลขที่ 45 หมู่ที่6 อายุ84 ปี 
   ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติหมู่บ้านดอนไชย

   
นายคำ ชาวยอง บ้านเลขที่15 หมู่ที่6 อายุ 97 ปี
                                                            ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติหมู่บ้านดอนไชย

แหล่งอ้างอิงข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร,ผู้ใหญ่บ้าน,และผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชุมชน




ประวัติหมู่บ้านทุ่งรัตนา
หมู่ที่ 7 ตำบล ศิลาเพชร อำเภอ ปัว  จังหวัด น่าน
......................................................................................................

เดิมชื่อหมู่บ้านทุ่งหิน หมู่ที่2 ต่อมาวันที่ 13 กันยายน 2524 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านเป็น หมู่บ้านทุ่งรัตนา หมู่ที่ 7 โดยแยกออกมาจากหมู่บ้านทุ่งศรีบุญยืน แต่เดิมนั้นมีจำนวนสมาชิกหมู่บ้านเพียง 190 คน 46 หลังคาเรือน
ปัจจุบันได้มีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 235 คน และมีจำนวนครัวเรือน 60 หลังคาเรือน
หมู่บ้านทุ่งรัตนาประกอบด้วยผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านจำนวน 3 คน
1.  นายประเทือง สิทธิแสน
2.  นาย ธร           พินิจทะ
3.  นายวิจิตร        ยาสาร                    ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
การปกครอง
-  นายวิจิตร          ยาสาร                    ผู้ใหญ่บ้าน
-  นายประสงค์    รักสัตย์                   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง
-  นายสะอาด       รกไพร                   ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง
-  นายสมศักดิ์      ระนัน                    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง
-  นายประเทือง สุทธิแสน              สมาชิก อบต. (รองนายก อบต.)
-  นายสมาน         เสาปัญญา             สมาชิก อบต.
อาณาเขตติดต่อ
ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ               หมู่บ้านทุ่งศรีบุญยืน หมู่2 ต.ศิลาเพชร อ.ปัว จ.น่าน
ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ               หมู่บ้านเชียงยืน ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน
ทิศเหนือ               ติดต่อกับ               ต.ป่ากลาง อ.ปัว จ.น่าน
ทิศใต้                     ติดต่อกับ               หมู่บ้านดอนสุขสันต์ หมู่10 ต.ศิลาเพชร อ.ปัว จ.น่าน
อาชีพ, เศรษฐกิจ / สินค้า (โอทอป)
คนในหมู่บ้านทุ่งรัตนาโดยส่วนมากจะประกอบอาชีพ ทำนา ทำสวน รับจ้างทั่วไป และปลูกพืชผักสวนครัวอยู่กินแบบเศรษฐกิจพอเพียง
สินค้าที่ชุมชนบ้านทุ่งรัตนาได้ทำขึ้นเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวคือ
การทำไม้กวาด, จักสาน และการขายหญ้าคา

รูปสถานที่ทำการเกษตรในหมู่บ้านทุ่งรัตนา




ประชากร การศึกษา
ชุมชนบ้านทุ่งรัตนามีจำนวนประชากรทั้งหมด จำนวน 235 คน 60 หลังคาเรือน
ด้านการศึกษา มีผู้ที่เขียน อ่านหนังสือได้มี จำนวน 215 และที่เหลืออีก 20 คนไม่รู้หนังสือ โดยมากจะเป็นเด็กเล็กๆ
วัฒนธรรมประเพณี
ประชากรของชุมชนบ้านทุ่งรัตนาก็เป็นไปตามวัฒนธรรมของคนภาคเหนือพื้นเมืองทั่วไปแบบปรกติโดยวันขึ้นปีใหม่ไทยก็มีการประกอบพิธีกรรมแบบชาวพุทธ คือประเพณีสงกรานต์ ก็จะมีการรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ และทำบุญ ตักบาตร นอกจากประเพณีแบบไทยๆ
ความเชื่อ
ความเชื่อในเขตชุมชนบ้านทุ่งรัตนาแห่งนี้ก็จะมีในแบบฉบับเหมือนกันกับชุมชนอื่นระแวกใกล้เคียงเพราะชีวิตการดำรงชีวิตคล้ายคลึงกันจึงมีความเชื่อต่างๆ นั้นเหมือนกันมากไม่ว่าจะเป็นการสู่ขวัญ สืบจาต๋า รดน้ำมนต์ ใส่ข้าวรดเคราะห์ เซาะเมื่อ ปูจายันต์เตียน เลี้ยงผี (ผีป๋างแปด โดยจะประกอบพิธีกรรมในเดือนแปด 12 ค่ำ เดือนแปด จะเลี้ยงด้วยหมู่  ส่วนเลี้ยงผีบ้านผีเรือนจะเลี้ยงด้วยไก่)  เสกเป่า ไล่ผี ผีปู่- ย่า
จุดประสงค์คือสร้างขวัญกำลังใจให้แก่คนในชุมชนและรักษาขนบธรรมเนียมเก่าๆไว้
ภาษา
ภาษาที่ใช้พูดคือ ภาษาพื้นเมือง
ภาษาที่ใช้เขียนคือ ภาษากลาง
ศาสนา
ประชากรในชุมชนบ้านทุ่งรัตนานับถือศาสนาพุทธ และมีวิถีการดำรงชีวิตแบบชาวพุทธ
ความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต
การดำเนินชีวิตประจำวันเน้นขนบธรรมเนียมแบบชาวบ้านที่ปฏิบัติร่วมกันมาเป็นเวลาหลายปี อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีอยู่ตามฤดูกาล โดยการเอาแรงกันหรือที่เรียกกันว่า การลงแขก การดำเนินชีวิตเรียบง่ายตามประสาคนท้องถิ่น ทุกคนพึ่งพาอาศัยกันแบบพี่น้อง ญาติมิตร
สถานที่สำคัญ โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกศิลาเพชร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำตำบล ชุมชนบ้านทุ่งรัตนายังไม่มีการสร้างวัดประจำหมู่บ้าน


  นายวิจิตร ยาสาร (ผู้ใหญ่บ้านทุ่งรัตนา)อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 41 หมู่4 อายุ 53 ปี ผู้ให้ข้อมูล
แหล่งอ้างอิงข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร,ผู้ใหญ่บ้าน,และผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชุมชน





บ้านป่าตองดอนทรายทอง  หมู่ที่  8
ตำบล ศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

บ้านป่าตองดอนทรายทอง  เดิม  เป็นบ้านป่าตอง  ม.  ต่อมาได้มีการแยกหมู่บ้านใหม่เมื่อวันที่  เมษายน  2539  มาเป็นป่าตองดอนทรายทอง  มีจำนวน  133  หลังคาเรือน โดยมีนายบุญนำ  พิชวงค์  เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

ที่ตั้ง
                -  ตั้งอยู่ตำบลศิลาเพชร  ห่างจากอำเภอปัวไปทางทิศใต้  13  กิโลเมตร
อาชีพ
                -  เกษตรกรรม
                -  ค้าขาย
ศาสนา
                - ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  มีวัดป่าตอง  เป็นศูนย์รวมจิตใจ
ลักษณะทั่วไป
                - เนื้อที่  1520  ใช้ทำการเษตร  620  ไร่
                -  มี  144  ครัวเรือน
                -  ประชากรทั้งหมด  566  คน  ชาย  273  คน  หญิง  293  คน
ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบ  มีแม่น้ำไหลผ่านคือ  แม่น้ำย่าง
ทิศเหนือ                                จรดกับบ้านนาคำ  หมู่  1
ทิศใต้                      จรดบ้านป่าตอง  หมู่ 3
ทิศตะวันออก       จรดกับป่าสงวนแห่งชาติ
ทิศตะวันตก          จรดกับบ้านทุ่งศรีบุญยืน  หมู่  2
สภาพทางเศรษฐกิจ
                - รายได้เฉลี่ย  20584  บาท/คน/ปี
                - ครัวเรือนมีการออมทรัพย์ร้อยละ  78 ของครัวเรือนทั้งหมด
                - ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรม  ใช้เนื้อที่  620  ไร่
- ผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดภายในและนอกชุมชนได้แก่  แตงกวา  ถั่วลิสง  พริก   หอมแดง  ผักกาด  กระเทียม
                - ประชาชนมีไฟฟ้าทุกครัวเรือนเส้นทางคมนาคมในการขนส่งสะดวกสบาย
สภาพทางสังคม
                - สภาพบ้านเรือนมีความมั่นคงถาวร
                - ประชาชนส่วนใหญ่มีสุขภาพดี  คนอายุ  35  ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
                - เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาภาคบังคับทุกคนประชาชนส่วนหญ่อ่านออกเขียนได้
                - ผู้สูงอายุ  และคนพิการได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
สถานที่ท่องเที่ยว
                -น้ำตกศิลาเพชร
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
                คือ  ดอยม่อนฤษี  เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าหลวงภูคา  สร้างมานานหลายร้อยปี  อดีตพญาภูคาปกครองเมืองย่าง  ซึ่งชาวบ้านตำบลศิลาเพชรและหมู่บ้านใกล้เคียงได้มากราบไหว้บูชาตลอดมา
ประเพณี
                - วันที่  16  เมษายน  ของทุกปี  จัดงานค้ำโพธิ์  ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี  จัดงานพิธีบวงสรวงเจ้าหลวงภูคา  โดยทำพิธีรดน้ำผาควายที่บริเวณน้ำตกศิลาเพชร  เพื่อขอฟ้าขอฝนทำการเกษตรกรรมตามความเชื่อที่สืบทอดกันมานาผลิตภัณฑ์ชุมชน
                - กลุ่มแปรรูปอาหารของกลุ่มแม่บ้าน  มีหน่อไม้ปี๊บ
                - กลุ่มเลี้ยงสุกร
ขอขอบคุณ  ผู้ใหญ่บ้าน  นายเกษม  สุริยศ
แหล่งอ้างอิงข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร,ผู้ใหญ่บ้าน,และผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชุมชน





บ้านป่าตองพัฒนา หมู่ที่ 9
ตำบล ศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน

1.              ข้อมูลทั่วไป
                        ประวัติหมู่บ้าน
บ้านป่าตองพัฒนา เดิมเป็นหมู่บ้านป่าตอง หมู่ที่3 ต่อมามีการแบ่งแยกการปกครองอออกเป็น 3 เขต 
คือ 1. บ้านป่าตองเดิม
      2. บ้านป่าตองดอนทรายทอง หมู่ 8
      3. บ้านป่าตองพัฒนา หมู่ที่ 9
หมู่บ้านป่าตองพัฒนาเป็นชุมชนที่เข็มแข็ง มีความรักสมัคคีกัน อยู่กันแบบเครือญาติ และที่สำคัญมีต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุยาวมากกว่า 600 ปี คือต้นโพธิ์ เป็นต้นไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่หมู่บ้านป่าตองพัฒนาเคารพนับถือมาจนถึงปัจจุบัน
                        ข้อมูลประชากร
                ประชากรของบ้านป่าตองพัฒนา หมู่ที่9 ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน เป็นชาวไทลื้อ มีจำนวน 129 ครัวเรือน รวม 490 คน เป็นชาย 235 คน หญิง 255 คน นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพ หลักทางการเกษตร บางส่วนประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น รับจ้างก่อสร้าง  มีโรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง มีวัด 1 แห่ง คือวัดป่าตอง มีประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ การสงเคราะห์บ้าน รดน้ำผาควาย ประเพณีค้ำโพธิ์ สงน้ำพระเพชร และประเพณีค้ำโพธิ์ สงน้ำพระเพชร ซึ้งทำพิธีในเดือนเมษายนของทุกปี ซึ้งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน มีอิทธิพลต่อความเชื่อ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้เกิดความรักความสมัคคีในชุมชน

                        สภาพทางภูมิศาสตร์
บ้านป่าตองพัฒนา ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอปัว 12 กม. และอยู่ห่างจากจังหวัดน่าน
60 กม. พื้นที่ของหมู่บ้านเป็นที่ราบต่ำมีลำน้ำย่างไหลผ่าน
 มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ                ติดกับ     บ้านทุ่งศรีบุญยืน หมู่ที่ 2 ตำบลศิลาเพชร
ทิศใต้                      ติดกับ     บ้านดอนแก้ว หมู่ที่ 4 ตำบลศิลาเพชร
ทิศตะวันออก       ติดกับ     บ้านป่าตอง  หมู่ที่ 3 ตำบลศิลาเพชร
ทิศตะวันตก          ติดกับ     บ้านดอนสุขสันต์  หมู่ที่ 10 ตำบลศิลาเพชร
2 ศักยภาพของชุมชน
2.1 สิ่งที่ชุมชนเคารพนับถือ  (คน, สถานที่)
บุคคล
1. พระครูสุภัทรนันทวิทย์                 เจ้าอาวาสวัดป่าตอง
2. นายขจร            แก้วหลวง              บ้านเลขที่ 18
3. นายชนุตม์       ริพล                        บ้านเลขที่ 112
4. นายเสริม          กองกุณะ               บ้านเลขที่ 10
5. นางประจวบ    ริพล                        บ้านเลขที่ 112
6. นางมณฑา       จำรูญ                      บ้านเลขที่ 75
7. นายบุญมี          จันทรา                   บ้านเลขที่ 70
8. นายสมเดช      ใหม่วงค์                บ้านเลจขที่ 72
สถานที่
1. วัดป่าตอง
2. วังผาควาย
3. ศาลเจ้าหลวงภูคา
4. ต้นโพธิ์
2.2 วัฒนธรรมประเพณี (วันสำคัญแต่ละเดือน)
มกราคม  วันขึ้นปีใหม่ ทำบุญตักบาตร ตานข้าวใหม่ให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
กุมภาพันธ์  ทำบุญวันมาฆะบูชา ตักบาตร
มีนาคม  -
เมษายน  ปีใหม่เมือง ทำบุญตักบาตร รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ  สรงน้ำพระเพชร  สู่ขวัญ ขนทรายเข้าวัด
                การส่งเคราะห์บ้าน
พฤษภาคม  บวงสรวงเจ้าหลวงภูคา ประเพณีค้ำโพธิ์
มิถุนายน  วันวิสาขบูชา  ทำบุญตักบาตร เวียนเทียน บรรพชาอุปสมบท ลงแขกทำนา
กรกฎาคม  อาสาฬหบูชา  วันเข้าพรรษา เวียนเทียน ทำบุญตักบาตร ถวายเทียนพรรษา
สิงหาคม  วันแม่แห่งชาติ พัฒนาหมู่บ้าน ทำบุญทุกวันพระ สืบซะตาข้าว
กันยายน  ทำบุญทุกวันพระ
ตุลาคม  วันออกพรรษา  ทำบุญตักบาตร  วันปิยะหมาราช  ลงแขกเกี่ยวข้าว
พฤศจิกายน  ทำบุญทอดกฐิน  ทานสลาก  ลอยกระทง  ลงแขกเกี่ยวข้าว
ธันวาคม  วันพ่อแห่งชาติ  พัฒนาหมู่บ้าน  วันส่งท้ายปีเก่า
2.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น
                การจักสาน  ตระกร้า  กระบุง  ไม้กวาดดอกหญ้า  ไม้กวาดทางมะพร้าว
                การสู่ขวัญ
ภาษา ล้านนา/พิธีกรรม
การแปรรูปอาหาร
การทำขนมไทย
แกะสลัก
ถักร้อยมาลัย
ตัดเย็บเสื้อผ้า
เย็บแบบ ทำบายศรี
2.4  ปราชญ์ชาวบ้าน
1. นายเสริม          กองกุณะ               บ้านเลขที่ 10        ด้านสู่ขวัญ,ภาษาเมือง
2. นายเนตร          ตาริน                      บ้านเลขที่ 17        ด้านแกะสลัก,จักสาน
3. นายเมือง          นาสาร                   บ้านเลขที่ 114      ด้านจักสาน
4. นายประเสริฐ  หน่อน้อย              บ้านเลขที่ 8          ด้านจักสาน
5. นายเทียน         พรมปา                  บ้านเลขที่ 5          ด้านจักสาน
6. นางวิไลวรรณ จันทรา                   บ้านเลขที่ 70        ด้านทำขนมไทย
7. นางมณฑา       จำรูญ                      บ้านเลขที่ 75        ด้านมาลัย,เย็บแบบ
8. นางประจวบ    ริพล                        บ้านเลขที่ 112      ด้านถักร้อยมาลัย
9.นางนิยมพร      ใหม่วงค์                บ้านเลขที่ 72        ด้านเย็บเสื้อผ้า
10.นายประสิทธ์  นาคอ้าย                 บ้านเลขที่ 115      ด้านสู่ขวัญ
2.5  แหล่งท่องเที่ยว
                น้ำตกศิลาเพชร

2.6  กลุ่ม/องค์กรที่เข้มแข็งในชุมชน
1.  กลุ่มสตรีแม่บ้าน
2.  กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข
3.  กลุ่มกองทุ่นหมูบ้าน
4.  สัจจะออมทรัพย์
5.  กลุ่มอาชีพทำแหนม
6. กลุ่มอาชีพข้าวแต๋น
7.  กลุ่มผู้สูงอายุ
8.  กลุ่มเยาวชน
9.  กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์
10.  กลุ่มอาชีพทำไวน์
11.  .  กองทุนร้านค้าชุมชน

2.7 ผลิตภัณฑ์ชุมชน/ผลผลิต
1. ผลิตภัณฑ์ชุมชน
  - เครื่องจักสาน
                 - หมวก  กระด้ง  ตระกร้า  ไซ  ตุ้ม
  - สุราพื้นบ้าน
 -  น้ำปู๋
2.  ผลผลิตชุมชน
                - ผักกาด                กระเทียม
                -  พริก                   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
                -  ไม้สัก                 ข้าวเหนียว
                -  แตงกวา             ใบยาสูบ
                -  หอมแดง           ถั่วลิสง
2.8  ความสัมพันธ์ในชุมชน
                ประชากรมีความเอื้ออาทรต่อกัน เป็นเครือญาติโดยเฉพาะในการมีงานส่วนรวมทุกคนจะให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักสามัคคี การเรียนรู้กฎธรรมเนียมของหมู่บ้าน พูดภาษาไทลื้อ ทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน

2.9  ทรัพยากรธรรมชาติ
                - ป่าชุมชน
                - น้ำตกศิลาเพชร, ลำน้ำย่าง
3.  ความคาดหวังของชุมชน( วิสัยทัศน์)    อยากให้ชุมชน ได้รัยการพัฒนาในทุกๆด้าน รักความสามัคคี ไม่เห็นแก่ตัว ลดการใช้สารเคมี  พึ่งพาปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สุขภาพดีถ้วยหน้า ปลอดยาเสพติด อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สืบสานวัฒนะรรมประเพณี
4.  ปัญหาจากข้อมูล จปฐ. ( ตกเกณฑ์)
จากการจักเก็บข้อมูล จปฐ. ปี2550 บ้านป่าตอง วิเคราะห์ได้ดังนี้
                หมวดที่ 1 สุขภาพดี (ประชาชนมีสุขภาพดี) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทั้ง13 ข้อ  แต่มีจำนวนที่ต้องแก้ไข คือ ข้อ 9 ทุกคนในครอบเรือนได้กินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตราฐาน
            หมวดที่ 2  มีบ้านอาศัย  (ประชาชนมีที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทั้ง  8ข้อไม่มีจำนวนที่ต้องแก้ไข
           หมวดที่ 3 ฝักไฝ่การศึกษา  ( ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงบริการด้านการศึกษา) ผ่าเกณฑ์ จปฐ.6ข้อ ไม่ผ่านเกณฑ์ 1 ข้อ คือข้อ27 อายุ 15-60 ปีเต็ม อ่านเขียนภาษาไทยได้ และคิดเลขอย่างง่ายๆได้ ต้องแก้ไขจำนวน 2 คน จากกข้อมูลทั้งหมด 331 คน ให้การศึกษานอกโรงเรียนสอนแบบเบ็ดเสร็จ
          หมวดที่ 4 รายได้ก้าวหน้า ( ประชาชนมีการประกอบอาชีพและมีรายได้พอเพียงต่อการดำรงชีพ) บรรลุ ผ่านเกณฑ์  จปฐ. ทั้ง 3 ข้อ มีจำนวนที่ต้องแก้ไข 1 ข้อ  ข้อ 29  คนอายุ 15-60ปีเต็ม มีการประกอบอาชีพและมีรายได้ ต้องแก้ไขจำนวน 1  จาก 331 คน เพราะเป็นคนไม่สมประกอบ
       หมวดที่ 5 ปลูกฝังค่านิยม  ( ประชาชนที่มีการปลูกฝังค่านิยมไทยให้กับตนเองเพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. 6 ข้อ ไม่มีจำนวนแก้ไข
       หมวดที่ 6 ร่วมใจพัฒนา  ( ประชาชนมีจิตสำนึกและร่วมกันรักษาสิทธิของตนเองเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น) ผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทั้ง 5 ข้อ แต่มีจำนวนที่ต้องแก้ไข 1 ข้อ คือ  ข้อ42 คนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ทีสิทธิเลือกตั้งำปใช้สิทธิเลือกในชุมชนของตน ต้องแก้ไขจำนวน 5 คน จาก 386 คน

        ประมวลภาพต่างๆเกี่ยวกับบ้านป่าตองพัฒนา หมู่9



ขอขอบคุณ  ผู้ใหญ่บ้าน  นายสมเดช  ใหม่วงค์
แหล่งอ้างอิงข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร,ผู้ใหญ่บ้าน,และผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชุมชน





ประวัติหมู่บ้านดอนสุขสันต์
หมู่ที่ 10 ตำบล ศิลาเพชร อำเภอ ปัว  จังหวัด น่าน
......................................................................................................

เนื่องจากหมู่บ้านดอนสุขสันต์เพิ่งแยกออกมาจากหมู่บ้านดอนมูลมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 ประวัติความจึงต้องอิงมาจากหมู่บ้านดอนมูล
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านดอนมูล เดิมนั้นการตั้งหมู่บ้าน
ครั้งแรกมีกลุ่มคน 4 กลุ่มคือ
1 กลุ่มบ้านดอน   มีประมาณ 5 ครอบครัว
2 กลุ่มบ้านนอก   มีประมาณ 7 ครอบครัว
3 กลุ่มบ้านดง      มีประมาณ 3 ครอบครัว
4 กลุ่มบ้านศาลา มีประมาณ 11 ครอบครัว
                ต่อมาได้รวมกลุ่ม เป็นหมู่บ้าน โดยนาย คันธเนตร ตาลตา เป็นแกนนำและเป็นผู้ใหญ่บ้าน คนแรก ตั้งชื่อว่า บ้านดอน เมื่อหมู่บ้านน้ำท่วม ชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายไปตั้งบ้านเรือนแห่งใหม่ ชื่อว่า บ้านใหม่ (บริเวณบ้านทุ่งรัตนาในปัจจุบัน)
                เมื่อแม่น้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล บริเวณที่ตั้งบ้านเดิม มีดินทรายมูลขึ้นจึงสร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่ ชื่อว่า บ้านดอนมูล
                ในปี พ.ศ. 2544 นายอุทัย พินิจทะ เป็นผู้ใหญ่บ้านได้เสนอให้มีการแบ่งหมู่บ้าน และได้รับอนุมัติ เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็น 2 หมู่บ้านคือ บ้านดอนมูล หมู่ที่5 และ บ้านดอนสุขสันต์ หมู่ที่10
                ปัจจุบันชุมชนบ้านดอนสุขสันต์มีประชากรทั้งหมดจำนวน 706 คน 186 หลังคาเรือน

การปกครอง
นายวิเชียร             แก้วหลวง             ผู้ใหญ่บ้าน
นายถนอม            กันทะกัน              ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง
นางดวงเดือน       ปะรางฤทธิ์           ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง
นายสง่า                 ศิริรัตน์                  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ฝ่ายปกครอง
นายสนอง             กุลนรี                     สมาชิก อบต.
นางเอื้อรัตน์         ถาวงศ์                    สมาชิก อบต.

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ               ติดต่อกับ               หมู่บ้านทุ่งรัตนา หมู่ที่7 ต.ศิลาเพชร
ทิศใต้                     ติดต่อกับ               หมู่บ้านป่าตองพัฒนา หมู่ที่9 และบ้านดอนแก้ว หมู่ที่4 ต.ศิลาเพชร
ทิศตะวันออก       ติดต่อกับ               หมู่บ้านดอนมูล หมู่ที่5 และหมู่บ้านดอนไชย หมู่6 ต.ศิลาเพชร
ทิศตะวันตก          ติดต่อกับ               หมู่บ้านทุ่งค้อม และหมู่บ้านเชียงยืน ต.ยม อ.ท่าวังผา

อาชีพ เศรษฐกิจ/สินค้า (โอทอป)



ประชากรของชุมชนบ้านดอนสุขสันต์ส่วนมากจะประกอบอาชีพด้านการเกษตร และยังมีหัตถกรรมบางส่วนเป็นอาชีพเสริม อาทิเช่น การทำไม้กวาดดอกหญ้า การจักสาน ตะกร้า
สินค้าของชุมชนบ้านดอนสุขสันต์จึงมี ไม้กวาด ตะกร้า สุ่ม
ประชากร การศึกษา
ชุมชนบ้านดอนสุขสันต์มีประชากรทั้งหมดจำนวน 706 คน 186 หลังคาเรือน
ด้านการศึกษากว่า  10% ที่อ่านและเขียนหนังสือไม่ได้

วัฒนธรรม
มีวัด จำนวน 1 วัด คือ วัดบ้านดอนมูล ซึ่งตอนนี้กำลังบูรณะใหม่
ภาษา
ภาษาที่ใช้พูดคือ ภาษาพื้นเมือง
ภาษาที่ใช้เขียนคือ ภาษาไทยกลาง
การแต่งกาย
แบบธรรมดาสากลทั่วไป
ศาสนา
ชุมชนบ้านดอนสุขสันต์นับถือศาสนาพุทธ
ความเชื่อ/ศรัทธา
ประชากรชุมชนบ้านดอนสุขสันต์มีความเชื่อคล้ายๆกัน กับทุกหมู่บ้านในตำบลศิลาเพชร โดยเฉพาะกับหมู่บ้านดอนมูล เพราะหมู่บ้านดอนสุขสันต์ได้แยกออกมาจากหมู่บ้านดอนมูลประเพณีและความเชื่อต่างๆ จึงไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก
การสู่ขวัญ                             สืบจาต๋า                                 รดน้ำมนต์             ใส่ข้าวรดเคราะห์ เซาะเมื่อ                       
ส่งมหาสังเกด                      ปูจายันต์เตียน                      ส่งคึด                    
ส่งภัย                                     ส่งเคราะห์                            เสกเป่า ไล่ผี      เลี้ยงผี เสื้อบ้าน
ผีปู่ ย่า                                 บวงสรวงเจ้าหลวงภูคา ท้าวอุปราช             รดน้ำดำหัวเฒ่าแก่
ทำบุญป่าช้า
ทั้งหมดทั้งมวลนี้จุดประสงค์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ตัวเองและลูกบ้าน ตามความเชื่อที่มีมาแต่สมัยโบราณ

ความเป็นอยู่ การดำรงชีวิต
                การดำเนินชีวิตประจำวันเน้นขนบธรรมเนียมแบบชาวบ้านที่ปฏิบัติร่วมกันมาเป็นเวลาหลายปี อาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะเก็บเกี่ยวผลผลิตทีมีอยู่โดยการเอาแรงกันหรือที่เรียกกันว่า การลงแขก การดำเนินชีวิตเรียบง่ายตามประสาคนท้องถิ่น ทำมาหากินเลี้ยงชีพโดยทั่วไปไม่แตกต่างกันมากนักกับหมู่บ้านใกล้เคียง
สถานที่สำคัญ โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยว คือน้ำตกศิลาเพชร สถานที่สำคัญและเป็นที่สักการบูชาคือ ศาลเจ้าพ่อภูคา ท้าวอุปราช ที่ตั้งอยู่ในเขตของหมู่บ้านดอนมูล หมู่ที่5 ต.ศิลาเพชร เพราะเพิ่งแยกออกมาจากบ้านดอนมูลจารีตประเพณีจึงคล้ายกัน สถานที่และสิ่งที่เคารพบูชาจึงเป็นสิ่งเดียวกัน
ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน
-         นายเฉลิม              ต๊ะต๊ะ                     ผู้รู้เกี่ยวกับประเพณีโบราณ
-         นายอิ่นคำ             ใหม่กันทะ            หมอสู่ขวัญ
-         นายนึ่ง                  ทะนะตา               ผู้รู้ด้านสมุนไพร
-         นายบุญรอด          ทิขัด                       มรรคายก

ประมวลภาพต่างๆเกี่ยวกับหมู่บ้านดอนสุขสันต์ หมู่ที่10


นายวิเชียร แก้วหลวง (กำนันตำบลศิลาเพชร) บ้านเลขที่66 หมู่ที่10 อายุ 53 ปี ผู้ให้ข้อมูล
แหล่งอ้างอิงข้อมูล องค์การบริหารส่วนตำบลศิลาเพชร,ผู้ใหญ่บ้าน,และผู้เฒ่าผู้แก่ให้ชุมชน


































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น